Ecosyste.ms: Awesome
An open API service indexing awesome lists of open source software.
https://github.com/wdrdres3qew5ts21/certified-rancher-operator-thai
มาเรียนรู้ Kuberntes แบบ On-Premise และ Architecture ของ Rancher ที่ใช้ในการจัดการ Kubernetes Cluster เพื่อนำสู่ Certified Kubernetes Administrator และ Certified Rancer Operator
https://github.com/wdrdres3qew5ts21/certified-rancher-operator-thai
helm kubernetes quarkus rancher rancher-architecture rancher-kubernetes-engine vue
Last synced: 3 months ago
JSON representation
มาเรียนรู้ Kuberntes แบบ On-Premise และ Architecture ของ Rancher ที่ใช้ในการจัดการ Kubernetes Cluster เพื่อนำสู่ Certified Kubernetes Administrator และ Certified Rancer Operator
- Host: GitHub
- URL: https://github.com/wdrdres3qew5ts21/certified-rancher-operator-thai
- Owner: wdrdres3qew5ts21
- Created: 2020-12-25T09:52:59.000Z (about 4 years ago)
- Default Branch: main
- Last Pushed: 2021-05-02T07:54:20.000Z (over 3 years ago)
- Last Synced: 2024-10-14T04:01:31.169Z (3 months ago)
- Topics: helm, kubernetes, quarkus, rancher, rancher-architecture, rancher-kubernetes-engine, vue
- Language: HTML
- Homepage:
- Size: 18.4 MB
- Stars: 79
- Watchers: 6
- Forks: 26
- Open Issues: 0
-
Metadata Files:
- Readme: README.md
Awesome Lists containing this project
README
![Certified Rancher Operator Cover](images/rancher-cover.png "Cover Image")
# Introduction Kubernetes Container Platform Managementแน่นอนว่าหลายๆคนในช่วงนี้ย่อมเคยได้ยินถึง Kubernetes และใช้งานกันแล้วบ้างซึ่งจะเห็นได้เลยว่า Kubernetes คือ Container Orchestration Platform
ที่ช่วยให้เราสามารถจัดการควบคุม Application ที่ pack เป็น Container Image เรียบร้อยแล้วแต่ต้องการ Deploy ไปหลายๆ Application และจะทราบได้อย่างไรว่า Application เหล่านัั้นทำงานแล้วมีปัญหาหรือไม่ ควรรับ Traffic ที่ Request เข้ามาหรือเปล่า ? หรือควรพักไว้ก่อนเพราะว่า Application เรารับโหลดไม่ไหวและเริ่ม Delay แล้ว ซึ่งการจัดการในเชิง Platform Infrastructure ของ Application ก็จะถูกจัดการให้ง่ายด้วยด้วยการใช้ Kubernetes ซึ่งเราจะลองยกตัวอย่างให้ดูจากตัวอย่างเหล่านี้ครับ ว่า Kubernetes ใน Concept นั้นทำอะไรได้บ้าง1. การกำหนด Resource ของ Application ตัวนี้สามารถใช้ Memory ได้เท่าไหร่ ? หรือใช้กำลัง CPU ในการประมวลผลได้กี่ Virtual Core ภายใน Namespace นั้นผ่าน Resource Quota วึ่งก็จะช่วยให้ทั้งทีม Devloper และ Operation ทราบถึงปริมาณการใช้งานและกำหนดขอบเขตการใช้งานไม่ให้ไปแย่งใช้งานกับ Application ตัวอื่นได้ หรือถ้าเป็นในด้าน Network ก็จะพบว่า Kubernetes
2. สามารถช่วยให้เราสร้าง Service Discovery กันภายใน Cluster ได้อย่างง่ายดายซึ่ง Service Discovery จะเข้ามาแก้ปัญหา Pattern เดิมๆที่เราต้องออกแบบใน Infrastructure แบบ Production นั้นก็คือการทำ High Availability ซึ่งก็หมายความว่า Application ที่ Deploy ขึ้นระบบไปแล้วนั้นจะต้องไม่อยู่ตัวคนเดียวและถ้าหาก Application ณ จุดนั้นล่มไปจะต้องไม่ทำให้ระบบเกิดล่มลงไปเป็นสิ่งที่เรียกว่า Single Point of Failure เราเลยต้องทำการ Deploy Application แบบ Redundancy กันหลายๆที่ (คนล่ะ Physical Host) เพื่อป้องกันเหตุการณ์ว่าถ้าเกิด Host จริงๆที่ติดตั้ง Application ที่ Deploy อยู่เกิดล่มลงไปจะไม่กระทบต่อ Business User ที่ใช้งานอยู่ แต่กระนั้นเองการทำ High Availability เช่นนี้ก็ต้องแรกมากับการที่ไปขยายจุด Failure ในจุดอื่นแทนด้วยการให้มี Load Balancer เป็นจุดกระจาย Load ไปยัง Application ที่อยู่กันคนล่ะ Host IP คนล่ะเบอร์กัน แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือแล้วเราจะทำอย่างไรถ้าหากเรามี Application ที่สามารถเพิ่มลดตัวเองได้ตลอดเวลาและ IP ก็ Dynamic เปลี่ยนไปเรื่อยๆ การแก้ไขไฟล์ Config เหล่านั้นก็คงปวดหัวน่าดู แต่ Kubernetes เองก็เข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการใช้ Service ไปจับกับ Label ของ Pod ที่ Deploy ขึ้นมาและ Register ลงไปใน CoreDNS ทำให้ปัญหาเรื่องของ Service Discovery ถูกแก้ไป (ถ้าเป็นใน Netflix Stack นั่นก็คือ Eureka Service)
3. Storage Abstraction ด้วยการใช้ Container Storage Interface ทำให้ผู้ใช้ที่เป็น Developer ไม่จำเป็นต้องสนใจว่า Disk ที่ถูกสร้างไปนั้นจะใช้เป็น Disk ประเภทใดแต่ประเภทของ Disk ก็ถูกจัดการและ Abstract โดย Admin อีกทีอย่างเช่นกาออกแบบ Storage Class ทิ้งเอาไว้ก่อนและให้ Developer ขอ Volume ของ disk แล้วก็ใช้งานได้เลยหากเงื่อนไขของ Disk นั้นตรงกันกับ Storage Class ที่ออกแบบไว้ตอนแรกซึ่ง Kubernetes นั้นจะเปรียบเสมือนกับ Datacenter สำหรับ Application เต็มๆที่เราต้องคอยเลือกจัดการพวก Solution Network, Storage, หรือ Strategy เหล่านี้เองได้ด้วยตัวเราทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากเราต้องการจะใช้งานแบบ Production ซึ่งต้องการเห็นภาพรวมทั้งหมดของระบบที่มี Scale ใหญ่มากๆจริงๆ การใช้คำสั่งผ่าน kubectl เพื่อดูแต่ล่ะ Application ที่ Deploy ขึ้นไปก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน จากการที่ต้องมาดูจาก text ผ่าน Commandline ทีล่ะจุด ลองจินตนาการว่าเรามี Application สัก 10 ตัว แต่ล่ะตัวมี Database, Backend และ Frontend เป็นของตัวเองและมีการทำ HA ในทุกๆ Deployment ว่าต้อง Deploy ไปแล้วแยกอยู่คนล่ะเครื่องจริงๆด้วยนะ ไม่ใช่แค่ ใช้คำสั่ง kubectl scale --replicas แล้วสุดท้ายทุกอย่างยังอยู่เครื่องเดิม หรือไป Deploy ในเครื่องที่ล่อแหลมอย่าง Ram น้อยเกินไปหรือมีสถานะแปลกๆที่เราคิดแล้วว่าไม่เหมาะสมต่อการ deploy จากที่เราออกแบบแปะ Label ไว้ที่ Node นั้นๆเช่นเครื่องนี้ใช้ CPU Intel เราจะไม่ไป Deploy ที่เครื่องนี้ ซึ่งเทคนิดพวกนี้เราสามารถจัดการได้ด้วยการใช้ Taint,Toleration, Pod Affinity เข้ามาจัดการได้ซึ่งเป็น Config พื้นฐานของ Kubernetes อยู่แล้ว
แต่ในแง่ของการจัดการหรือช่วยให้เรามองเห็นปัญหาหรือสถานการณ์ในภาพรวมได้การใช้แค่ kubectl เพื่อดูผ่าน terminal คงจะไม่พอถ้าหาก Application ของเรามีความซับซ้อนดั่งตัวอย่างนี้ ซึ่งหลังจากนี้เราจะลองมาดูกันว่าแล้ว Rancher ซึ่งเป็น Kubernetes Management Platform อีกทีช่วยอะไรเราได้บ้าง ? (Inception มาก Manage ใน Manage อีกที 5555)# Rancher Kubernetes Management Platform
จากประโยชน์ทั้งหมดนั้นเราจะเห็นได้แล้วว่า Kubernetes เข้ามาช่วยในการจัดการขั้นตอนในการ Deploy Container ให้กับเราจริงๆแต่ถ้าให้ลองนึกไปถึงอีกระดับนึงแล้วแล้วอะไรล่ะที่จะเข้าไป Manage Kubernetes ที่เรามีอยู่แล้วได้อีกทีกันนะ ?
1. Kubernetes Cluster Provisioning & Life Cycle Management: เรานั้นทราบกันดีว่าการสร้าง Kubernetes ก็มีวิธีให้เลือกได้หลายแบบตั้งแต่การใช้ KOPS เพื่อ Provisioning บน AWS หรือจะใช้ Kubeadm ซึ่งเป็น Official Tools ให้ติดตั้ง Kubernetes Cluster ได้อย่างสะดวกสบายกว่าการติดตั้งแบบ Hardway เพราะช่วยในการ Abstract ความซับซ้อนอย่างขั้นตอนการ Generate Certificate ไปรวมไปถึงการ Join Cluster ก็ทำได้ง่ายขึ้น แต่ในกรณ๊ Scale ขององค์กรขนาดใหญ่แล้วที่ต้องการ Provisioning Cluster หลายๆ Cluster เพื่อแยกแต่ล่ะแผนกหรือแต่ล่ะงานตามแต่ที่นโยบายกำหนดมา (เช่นไม่ยากให้ข้อมูลมีโอกาสหลุดไปเห็นโดย Developer ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆเลย) การ Provisioning ด้วยตัวเราแบบ Manual จำนวนมากๆก็อาจจะเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นมาบ้าง เพราะแต่ล่ะ Cluster ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็จะไม่มีความเกี่ยวข้องกันไม่สามารถสรุปผลของภาพรวมจากศูนย์กลางที่เดียวได้ เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจจะเริ่มสับสนว่า Cluster นี้ถูกสร้างไว้ที่ไหนโดยใครบ้าง หรือถ้าอยากจะลบ Cluster เหล่านั้นล่ะจะทำอย่างไร ? ซึ่งปัญหานี้ก็จะถูกแก้ด้วยการใช้ Rancher ซึ่งเป็น Deployment หนึ่งที่ใช้ในการจัดการ Cluster Kubernetes อีกที โดยแต่ล่ะ Cluster นั้นก็จะถูกเชื่อมเข้ามาหา Management ซึ่งความสามารถนี้ไม่ใช่แค่การสร้าง Cluster ผ่าน GUI ใน Rancher เท่านั้น แต่ Rancher ยังสามารถออกแบบ Template ของ Kubernetes ที่จะ Provisioning ได้อีกด้วยผ่าน Rancher Kubernetes Engine Template (เหมือนเป็น Template ที่มีไว้ Reuse ว่า Configuration ของ Kubernetes ต้องเป็นแบบใดใช้ Kubernetes Version ไหน, Docker Engine อะไร Parameter ต่างๆ) ตรงจุดนี้เองจะทำให้ทั้งองค์กรเรามีการใช้ Kubernetes แบบ Scale ใหญ่ๆและต้องการความ Consistency ทั้งระบบมีความสะดวกสบายมากขึ้น และยังมีเรื่องของการ Backup ETCD Database ซึ่งเป็น Key Value Databaase ที่สำคัญของ Kubernetes เพราะใช้ในการเก็บสถานะทั้ง Cluster ว่าตอนนี้ Cluster มี Pod อะไรบ้างมี Object อยู่ใน Namesapce ไหน ? พูดอย่างง่ายๆคือทุกอย่างที่เป็น YAML Object Kubernetes ทั้งหมดนั้นถูก Backup ไว้ที่ ETCD ดังนั้นถ้าเกิด ETCD ล่มไป State ของ Cluster ก็จะหายทันที ซึ่งสิง่สำคัญของ Kubernetes Management Paltform จึงควรให้ความสำคัญกับการ Backup ETCD Database ด้วยเช่นกัน ซึ่ง Rancher เองก็มี Feature นี้ให้ด้วยเช่นเดียวกัน (รายละเอียดจะถูกกล่าวเพิ่มเติมต่อไปครับ)
2. User Management: ทุกๆ Application ใดๆล้วนแล้วแต่มีการทำ Authentication/ Authorization กันเกือบหมดเพราะจะได้ทราบว่าสิทธิของ User คนนั้นที่ควรจะได้คืออะไรบ้าง ซึ่งแน่นอนแล้วว่า kubernetes เองก็สามารถสร้าง user ขึ้นมาได้ด้วยนะ แต่สิ่งสำคัญที่จะเน้นย้ำก็คือจริงๆแล้ว User ใน Kubernetes นั้นไม่ได้มี Feature เรื่องของการทำ Authentication ตรงๆในตัวอย่างเช่นการ Sync กับ LDAP เพื่อนำ User เข้าสู่ระบบแต่ว่าใช้หลักการสร้าง Certificate ของ User คนนั้นขึ้นมาแล้วก็ทำงาน Upload Cert ผู้ใช้คนนั้นเข้าไปในระบบและกำหนดเอาไว้ผู้ใช้คนนี้สามารถ Access API Kbuernetes อะไรได้บ้างผ่านการสร้าง Role/ ClusterRole แล้วเราก็กำหนด Role Based Access Control เอาด้วยตัวเราเอง ซึ่งแน่นอนว่าการ config เหล่านี้หากเราเป็น Developer หรือทำเพื่อ Delivery Application ที่ไม่ได้มีผู้ใช้แชร์ร่วมกันกับคนอื่นในองค์กรขนาดใหญ่การทำ RBAC ผ่าน manifest YAML ก็ดูไม่ได้เสียหายอะไรและก็สะดวก แต่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ๆหรือจริงๆไม่ต้องใหญ่มากก็ได้เพียงแต่ว่าองค์กรเรามี Process ในการทำงานที่เหมาะสมว่าใครควรจะสามารถ Access อะไรได้บ้างไม่อย่างนั้น Developer ที่พึ่งเข้ามาใหม่แล้วใช้ Account ที่มี permission ทำได้ทุกอย่างแล้วเผลอไปลบ Deployment จริงๆของ Application ในระบบขึ้นมาแล้วอยู่ในระหว่าง Production ขึ้นมา ก็คงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เป็นนัก ซึ่งการจัดการสิทธิเหล่านี้นั้นใน Kubernetes Dashbaord ก็จะไมไ่ด้แสดงให้เห็นตรงๆว่าเรามี User เป็นใครและทำอะไรได้บ้างผ่าน GUI แต่ถ้าจะมาดูแบบลึกๆก็คงต้องดูผ่าน YAML ผ่าน kubectl auth can-i นั่นเอง ซึ่งตรงนี้เองก็จะเป็นจุดนึงที่ Rancher อันเป็น Kubernetes Management Platform เข้าไปช่วยกันการในเรื่องการของการทำ Authentication ได้ด้วยนั้นเองรวมถึงเห็นได้ว่าเรามี User กี่คนในระบบแต่ล่ะคนสามารถมีสิทธิ Read, Write Object ใดใน Namespace ใดได้บ้าง ซึ่งก็จะเป็น RBAC ที่มีความละเอียดชัดเจนและเป็นทางการเหมาะกับการใช้ในการ Production จริงๆมากขึ้นนั่นเอง
3. Developer Experience ที่ดีขึ้น Application จะออกมาดีได้ก็ต้องเกิดจากนักพัฒนาและทีมงานในองค์กรเราเองด้วยที่รู้สึกว่าเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้พร้อมจะใช้งานทันที โดยไม่จำเป็นต้องทำงานเดิมๆซ้ำอย่างเช่น Developer ของเราอยากจะได้ความสามารถของ Service Mesh ในตัว Rancher 2.5 ปัจจุบันเองนั้นก็จะรองรับ Istio 1.7 ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถของ Service Mesh ที่จะช่วยให้ Infrastructure ของเราสามารถสร้างโอกาสการ Deploy ใหม่ๆเพิ่มความเสถียรในการ Deploy มากขึ้นเห็นภาพรวมใน Microservice จากการทราบว่า Request แต่ล่ะจุด Tracing แล้วเกิดคอขวดที่จุดใดบ้าง หรือการ Provisiong แอพพลิเคชั่นอย่างง่ายดีผ่าน Helm Chart ซึ่งแน่นอนว่า Helm เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วย Pack Kubernetes Object สำเร็จรูปเอาไว้แล้วเหมาะกับการ Deploy Application ที่เป็น Infrastructure มีเวอร์ชั่นชัดเจนและสามารถปรับแต่งจำนวนมากๆได้อย่างเช่นการ Deploy MySQL Database เราสามารถใช้ commandline Helm เพื่อทำการดึง Template manifest ที่มี developer คนอื่นสร้างเอาไว้ใน Helm Repository มาใช้งานได้ทันทีพร้อมกับปรับแต่ง config ต่างๆได้ผ่าน values.yaml ซึ่งจะเป็นการ passing ค่าลงไปใน Tempalte ของ Helm เช่น MySQL นี้มี User ชื่ออะไร, Password อะไรล่ะ ? แล้วเริ่มทำงานที่ Port ไหนผ่านตัวแปรที่ Developer ที่สร้าง Helm Chart ออกแบบเอาไว้ [Helm คืออะไรใน Kubernetes](https://medium.com/sirisoft/afc67049dadf)
แต่กระนั้นเองการ Deploy และ Config Infrastrucutre จะดีขึ้นและให้ความรู้สึกสนุกขึ้นไหม ถ้าหากเราสามารถกดผ่าน GUI และให้ Rancher ไปทำการ Deploy Helm Chart ให้และไม่จำเป็นต้องแนบ values.yaml ซึ่งใช้ในการ assing argument ผ่าน commandline แต่สามารถกรอกผ่านหน้า GUI ได้เลย ตัวนี้เองก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ Developer Experience มีความสนุกมากขึ้น สามารถเลือกใช้งาน Application จาก Helm Template ได้เลย และไม่ใช่แค่การ Deploy Helm Chart ยังมีอีกหลายๆอย่างเช่นการ Monitroing Infrastructure/ Notification ไปยังช่องทางต่างๆอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้ Developer Experience มีสีสันสนุกมากขึ้นแน่นอน (Dev Happy แอพก็ออกมาดี ! อิๆ)(แต่สำหรับผู้เรียนรู้ใหม่การเรียนรู้ Kubernetes แบบลึกๆจนไปถึงแก่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญนะ ! เพราะจะชวยให้เราต่อยอดเองได้ในอนาคตรวมไปถึงการ Debug ด้วยซึ่งสามารถตามไปที่ Repository ของอาจารย์จุ๊บ [Damrongsak Kubernetes Hardway ซึ่งเป็น Repository ที่ดีมากๆ](https://github.com/rdamrong/Kubernetes-The-Hard-Way-CentOS))
# System Requirement
1. Fedora 33 Workstation สำหรับทำงาน Ram 16GB, 4 Core - 8 Thread : Yoga C930
2. Multipass Ubuntu Virtualization ใช้ในการสร้าง VM ผ่าน Command Line
3. QEMU และ LibVirt สำหรับให้ Multipass มาสั่ง Provisioning VM ใน Fedora Workstation
4. VM ทั้งสามเครื่อง Spec คือ Ram 4GB, Disk 12 GB, CPU 2 Virtual-Core# Architecture Virtual Machine
![alt text](images/libvirt-driver-arch.png "LibVirt Architecture")
```
[ User Space ] [ Kernel Space ]
LibVirt => QEMU => KVM => Virtual Machine
```
### LibVirt High Level API unified Hypervisor driver
สำหรับ Infrastructure Platform นั้นเราจะใช้ libvirt ซึ่งเป็น High Level API ที่ใช้ในการควบคุม QEMU หลายๆตัวซึ่งถ้าตัวซึ่ง QEMU นั้นจะเสมือนกับ Hypervisor Driver ที่ใช้ติดต่อกับ Virtual Machine จริงๆวึ่งถ้าเราลองมาดูตัวอย่าง Hypervisor Drivers ที่รองรับเช่น LXC, QEMU (อยู่ใน Linux), VirtualBox (หลายๆค้นน่าจะคุ้นเคยกับตัวนี้กันที่มักจะใช้ Hashicorp Vagrant Provisioning เครื่อง VM), VMWare ESX, Microsoft Hyper-V และก็ XEN
ถ้ายกตัวอย่างแบบนี้แล้วเพื่อนๆอาจจะเห็นภาพมากขึ้นว่าทำไมถึงต้องมี LibVirt มีใช้เป็น High Level API นั่นก็เพราะช่วยให้เราสามารถจัดการ VM ได้ผ่าน API เดียวนั่นเอง### QEMU Virtual Machine Emulator
จะทำหน้าที่เสมือน Software จำลองเรื่องของการอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆเช่น Disk, Network, PCI และเรื่อง Input ของมูลเข้าไปยัง Virtual Machine ที่อยู่ข้างในจริงๆ ให้ลองนึกถึงที่ถ้าเราใช้ Hyper-V ในการสร้าง Window 10 ข้างในคอมของเราอีกทีเราก็จะพบว่า Hyper-V มี Remote GUI ให้เราสามารถกดคลิกแล้วคำสั่งคลิกเหล่านั้นก็ถูกส่งเข้าไปในเครื่อง Virtual Machine เหล่านั้นอีกทีหน้าที่เหล่านี้สำหรับการทำ Input คำสั่งคือจัดการ Process ก็คือจัดการโดย QEMU นั่นเอง ซึ่งการติดต่อระหว่าง KVM(Kernel Virtual Machine) เพื่อทำการสร้าง Virtual Machine จริงๆซึ่งจะไปรันในส่วนของ Kernel Space ใน Linux (หลักการเมืองกับการใช้ CGroup ใน Container เพื่อแยก Namespace แต่ล่ะแอพออกจากกัน)# Multipass Instant Ubuntu VMs
![alt text](images/mutipass.png)
โดยปกติแล้วถ้าเราอยากจะสร้าง Virtual Machine เราก็สามารถใช้ VMM(Virtual Machine Manager) แต่อย่างนั้นเองเราก็จะพบว่าขั้นตอนการติดตั้งนั้นช้ามากเพราะเราต้องทำการ Load ISO image ของ Virtual Machine เข้าไปก่อนแล้วค่อยๆ Setup ทีล่ะจุดๆซึ่งก็จะทำให้การ Development เพื่ออยากสร้าง Virtual Machine ของเรานั้นช้าลงมากไม่เหมือนกับการพัฒนาโปรแกรมแล้วก็ Pack โปรแกรมลงไป Container สามารถทำงานได้ทันที ซึ่งเราจะแก้ปัญหานี้ด้วยการใช้ Multipass ซึ่งเป็น software package บน Snapstore ที่ใช้ในการสร้าง Virtual Machine ได้อย่างง่ายดายเหมือนกับบน LXC Container แต่สาเหตุที่ผมไม่ใช้ LXC Container เพราะว่าทดลองหลายครั้งแล้วไม่สามารถติดตั้ง Dependency ที่จำเป็นจริงๆของ Rancher ให้ใช้งานได้ ซึ่งสาเหตุนี้อาจจะเกิดจากการที่ LXC Container นั้นยังใช้การ Share Kernel กันอยู่ทำให้มีปัญหาในการติดตั้ง Rancher ลงไปใน LXC Container อีกทีนึง ดังนั้นแล้วผมจึงตัดสินใจใช้ Multipass ในการสร้าง Virtual Machine แบบรวดเร็วและง่ายเหมือนกับ LXC Container แต่ว่ามีการแยก Kernel ของเครื่องที่ทำงานจริงๆ (เทสแล้วไม่มีปัญหาให้ปวดหัวเหมือนตอนทำใน LXC Container) ซึ่งจริงๆ Fedora 33 สามารถรัน Kubernetes ใน LXC Container ได้ด้วยการ Skip Verification Flag ของ Kubeadm ตอนติดตั้งแต่หลังจากที่ทดลองบน Rancher แล้วคำสั่ง Skip ก็เลยใช้ Virtual Machine แทนไปเลย แล้วก็แยกออกจากกันจริงๆด้วยนั่นเองครับ# ติดตั้ง Multipass
```
sudo snap install multipass # เพื่อติดตั้ง package จาก snapstoreip addr # เพื่อลองดู Network Interface ที่เป็น bridge ของ QEMU
[ชื่อinterface QEMU]
firewall-cmd --add--interface= --zone=trusted #เพิ่ม Interface QEMU ให้อยู่ใน trusted zone ของ firewalld```
### ผลลัพธ์ของ Network Interface
จะพบว่า Default Driver ของ Multipass นั้นใช้ผ่าน QEMU ตรงๆก็จะเห็น Interface ของ QEMU ซึ่งปัญหาต่อไปที่หลายๆคนอาจจะเจอนั่นก้คือการที่ Bridge QEMU ไม่สามารถใช้ DHCP แจก IP ได้นั่นก็เป็นเพราะว่าโดน Firewalld block interface เอาไว้อยู่ซึ่งเราจะแก้ปัญหานี้ด้วยการอนุญาต Interface Bridge ของ QEMU อยู่ใน trusted zone
```
12: mpqemubr0-dummy: mtu 1500 qdisc noop master mpqemubr0 state DOWN group default qlen 1000
link/ether 52:54:00:72:7e:2a brd ff:ff:ff:ff:ff:ff
13: mpqemubr0: mtu 1500 qdisc noqueue state DOWN group default qlen 1000
link/ether 06:b9:5e:0a:9f:42 brd ff:ff:ff:ff:ff:ff
inet 10.249.36.1/24 brd 10.249.36.255 scope global mpqemubr0
valid_lft forever preferred_lft forever
inet6 fe80::4b9:5eff:fe0a:9f42/64 scope link
valid_lft forever preferred_lft forever```
สลับมาใช้ LibVirt บน Multipass แทน QEMU
```
multipass set local.driver=libvirtmultipass get local.driver # เช็ค driver Multipass
```
### สร้าง VM
หลังจากที่เราทำการ Setting ทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ให้เราทำการ ใช้คำสั่งเหล่านี้ในการสร้าง VM ขึ้นมาแต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือเวลาที่เราสร้าง VM เราจะสามารถ Shell เข้าไปใน Container ได้ผ่านคำสั่งโดยตรงของ multipass exec เท่านั้น ซึ่งเหมือนกับคำสั่ง lxc exec ที่ใช้บน LXC Container เช่นกัน แต่ประเด็นก็คือถ้าเราอยากลอง SSH เข้าไปจริงๆผ่าน protocol SSH ล่ะ ? เพื่อทำการทดสอบความสมจริงต่างๆ สิง่ที่เกิดขึ้นก็คือเราต้องทำการ copy public key ที่ใช้ Shell เข้าไปยังปลายทาง VM นำไปต่อท้ายไว้ในไฟล์ /etc/authorized_keys นั่นเองซึ่งเราต้องทำแบบนี้ซ้ำๆ 3 หลายครั้งซึ่งถ้าเราจะ Set Predefined Template เราก็สามารถทำได้จากการใช้ Cloud Init Template ซึ่งเป็น Template สำหรับการสร้าง Virtual Machine โดยผมจะนำ public key ของเราไปวางไว้ใน vm-template.yaml ซึ่งจะทำให้เราสามารถ shell เข้าไปเครื่องปลายทางได้ทันทีนั่นเอง
ซึ่งตัวอย่าง module นั้นก็จะมีมากมาย ["Cloud Init Module"](https://cloudinit.readthedocs.io/en/latest/topics/modules.html)
โดยผมจะเลือกใช้ Module เกี่ยวกับ SSH นั่นก็คือ ssh_publish_hostkeys ในการเพิ่ม Public Key ลงไป
ส่วน Spec ของ VM ขั้นต่ำจริงๆหลังจากที่ค่อย Tuning มาแล้วก็คือ Memory 4GB ซึ่งจะเป็น Minimum ขั้นต่ำของ Kubernetes ที่ต้องใช้พอดีส่วน Disk จากที่ลองมาน่าจะต้องใช้ประมาณ 12 GB ครับเพราะจากที่ลอง 8GB เหมือนจะน้อยไปและถ้า disk ใช้พื้นที่ไปมากกว่า Threshhold ที่ Kubelet (รู้สึกจะ 85%) ตั้งไว้ก็จะโดน DiskPressure Trigger และ Taint ขึ้นมาทำให้เครื่องที่สร้างมาทำอะไรไมไ่ด้เลยซึ่ง Default Disk นั้นคือ 5GB แต่เวลาติดตั้งและ pull Image อะไรเสร็จทั้งหมดจะใช้ประมาณ 6 - 7 Gb ปลายๆ และสุดท้ายก็ให้ Virtual CPU สัก 2 Core
*** สามารถสร้างเครื่องได้ผ่าน script initVirtualMachine.sh
```
multipass launch ubuntu -n rancher-host -m 4G -d 12G -c 2 --cloud-init vm-template.yamlmultipass launch ubuntu -n kube-master -m 4G -d 12G -c 2 --cloud-init vm-template.yaml
multipass launch ubuntu -n kube-worker -m 4G -d 12G -c 2 --cloud-init vm-template.yaml
multipass info --all
# ผลลัพธ์
WARNING: cgroup v2 is not fully supported yet, proceeding with partial confinement
Name: kube-master
State: Running
IPv4: 192.168.122.27
Release: Ubuntu 20.04.1 LTS
Image hash: 36403f956294 (Ubuntu 20.04 LTS)
Load: 2.36 0.64 0.22
Disk usage: 4.5G out of 11.5G
Memory usage: 831.0M out of 3.8GName: kube-worker
State: Running
IPv4: 192.168.122.242
Release: Ubuntu 20.04.1 LTS
Image hash: 36403f956294 (Ubuntu 20.04 LTS)
Load: 2.87 0.67 0.22
Disk usage: 7.7G out of 11.5G
Memory usage: 532.3M out of 3.8GName: rancher-host
State: Running
IPv4: 192.168.122.216
Release: Ubuntu 20.04.1 LTS
Image hash: 36403f956294 (Ubuntu 20.04 LTS)
Load: 1.18 0.32 0.11
Disk usage: 4.5G out of 11.5G
Memory usage: 838.5M out of 3.8G
```
![alt Cockpit Showing Virtual Machine](images/cockpit-virtual%20machine.png)# Install Docker ให้กับทุก Host ที่สร้างขึ้นมา
สถาปัตยกรรมของ Rancher นั้นจะเรียกได้ว่าช่วย Abstract ความซับซ้อนของ Docker ก็ว่าได้เพราะว่าทุกอย่างนั้นล้วนเป็น Container Image หมดแล้วของเพียงแค่ Pull ลงมาก็จะพร้อมใช้งานได้เลยซึ่งหมายความว่าขั้นตอนการติดตั้งปกติอย่าง kubelet ที่ปกติจะต้องทำงานด้วย Systemd ก็จะไม่ต้องลงแล้วแต่จะลงเป็น Container ของ Docker หมดเลย (ตรงจุดนี้มีความน่าสนใจอย่างยิ่งว่าการที่ทุกๆ Component อยู่ใน Container แล้วดีจริงหรือไม่) ซึ่งจะต่างจาก Kubernetes จริงๆซึ่ง "kubelet จำเป็นต้องลงเป็น systemd service" เพราะว่า kubelet เป็นส่วนที่ใช้ในการ Controll Pod สถานะรวมถึง Event ต่างๆที่เกิดขึ้นใน Kubernetes Node นั้นๆ (kubelet เจ๊งเท่ากับไม่สามารถควบคุมการสร้าง pod/ delete pod ได้) ซึ่ง kubelet ยังมีมากกว่านั้นอีกไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนด flag ของ CoreDNS, Container Network Interface ซึ่งสามารถตามไปอ่านได้ที่ Repository ของอาจารย์จุ๊บกับ Kubernetes Hardway
[Kubernetes Hardway ไทย](https://github.com/rdamrong/Kubernetes-The-Hard-Way-CentOS/blob/master/docs/10-install-worker-node.md)
```
# รันคำสั่งนี้ในทุก Host Virtual Machine ที่เราสร้างขึ้นมาจะทำเป็น shell script วน loop เอาก็ได้นะmultipass exec rancher-host -- bash -c "sudo apt-get update -y && sudo apt-get install docker.io -y && sudo systemctl start docker && sudo systemctl enable docker &&sudo usermod -aG docker \$USER"
multipass exec kube-master -- bash -c "sudo apt-get update -y && sudo apt-get install docker.io -y && sudo systemctl start docker && sudo systemctl enable docker &&sudo usermod -aG docker \$USER"
multipass exec kube-worker -- bash -c "sudo apt-get update -y && sudo apt-get install docker.io -y && sudo systemctl start docker && sudo systemctl enable docker &&sudo usermod -aG docker \$USER"
sudo apt-get update -y && sudo apt-get install docker.io -y && sudo systemctl start docker && sudo systemctl enable docker &&sudo usermod -aG docker $USER
```
# Product จาก Rancher Labs![alt txt](images/rancher-stack.png)
### Rancher GUI ใช้จัดการ Kubernetes Platform
ซึ่งสามารถ Deploy ไปสองแบบคือบน Docker และไปคุม Cluster Kubernetes ซึ่งจะใช้เฉพาะกับ "Development Environment เท่านั้น" ส่วนสำหรับ Production Grade เราจำเป็นที่ควรจะ Deploy เข้าไปใน RKE ซึ่งก็หมายความว่า Rancher จะกลายเป็น Pod ภายใน Kubernetes Cluster ซึ่งส่งผลให้ได้คุณสมบัติ HA ตามมาด้วยซึ่งถ้า deploy แบบ Docker container ตรงๆก็จะไมไ่ด้คุณสมบัตินี้นั่นเอง และ Rancher Labs เองก็แนะนำว่าให้ Deploy ใน RKE Cluster สำหรับ Production### Rancher Kubernetes Engine(RKE) CNCF-Certified Kubernetes distribution
เป็น Distribution หนึ่งของ Kubernetes ซึ่งออกแบบโดยทาง Rancher Labs เองสามารถสร้าง Cluster ของ Declarative YAML ได้และการ Deploy Component ติดตั้งเชื่อมต่อของ Cluster จะใช้เพียงแค่ Docker เป็น Engine Runtime เท่านั้นไม่ว่าจะเป็น ETCD, Kubelet (ปกติ Kubelet ต้องติดตั้งเป็น Systemd), Kube-Scheduler, API-Server, CNI ทุกอย่างล้วนแล้วแต่อยู่ใน Docker Container เท่านั้นก็จะทำการสร้าง Cluster Kubernetes ขึ้นมาได้แล้ว ซึ่งสำหรับเวอร์ชั่น Docker ที่สนับสนุนนั้นสามารถไปดูได้ที่เอกสารของทาง Rancher ซึ่ง Component ที่เป็น "Control Plane จะมองไม่เห็นเป็น pod ใน Kubernetes Cluster" ตรงนี้จะเป็นจุด Highlight ที่แตกต่างกับ Kubernetes แบบปกติที่ติดตั้งผ่าน kubeadm ซึ่งสามารถ Deploy ทุกอย่างด้วยคำสั่งเดียวคือ rke up และทำการสร้าง cluster แบบ interactive terminal ผ่านคำสั่ง rke config ตรงจุดนี้จะเป็นจุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่าง kubeadm ที่ทรงพลังสามารถ custom ได้ละเอียดเห็นขั้นตอนการ Join Control Plane กับการใช้ RKE ที่สร้าง Cluster ได้ทันทีด้วยคำสั่งๆเดียว### K3S Light weight Kubernetes สำหรับ Edge หรือ IoT
เป็น Distribution หนึ่งของ Kubernetes ที่มีขนาดเล็กใช้ Memory, CPU แค่นิดเดียวและมี Binary สามารถเอาไปทำงานใน Rasberry Pie ได้หรือเครื่องที่มีสถาปัตยกรรม CPU แบบ Arm# Rancher Architecture
![alt txt](images/rancher-architecture-rancher-api-server.svg)
หลังจากที่เราได้ทราบไปแล้วว่า Rancher นั้นเป็น Kubernetes Management Platform ซึ่งช่วยสนับสนุนตามคุณสมบัติต่างๆดั่งที่กล่าวไปทั้ง 3 ข้อจุดเด่นๆ แต่ในปัจจุบัน Rancher นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ GUI ที่ใช้ในการ Deploy อีกต่อไปแล้วแต่ว่า Rancher Labs ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภันฑ์นั้นยังมี Kubernetes Distribution เป็นของตัวเองนั่นคือ Rancher Kubernetes Engine (RKE) ซึ่งใช้ในการ Host Rancher Pod ใน Cluster Kubernetes ซึ่งถ้าใช้ Rancher 2.5 จะสามารถ Deploy ได้บนทุกๆ Kubernetes Distribution แต่ถ้าตั้งแต่ Version 2.4 ลงไปนั้นจะใช้ได้แค่กับ RKE Cluster เท่านั้น
สำหรับ Architecture ของ Rancher Cluster นั้นก็จะประกอบไปด้วย Upstream และ Downstream ถ้าให้มองเข้าใจอย่างง่ายๆ Upstream คือส่วนที่ใช้ในการ Manage ส่วน Downstream คือ Cluster ปลายทางขาล่างที่ถูกควบคุมอีกทีดู Rancher Cluster นั่นเอง วึ่งใน Cluster ปลายทางก็จะต้องมี Cluster Agent ลงเอาไว้เพื่อทำการติดต่อกับ Cluster Controller ว่าสถานะตอนนี้ Cluster เป็นอย่างไรบ้างมีจำนวน Pod หรือ Configuration เป็นไปตามที่ Upstream สั่งคำสั่งมาแล้วหรือยัง ซึ่งแต่ล่ะ Node เองก็จะยังมี Node Agent เป็นของตัวเองด้วยเพื่อดูสถานะของ Node แต่การที่จะทำเรื่องของ Downstream Cluster ที่ Rancher ไป Manage ควบคุมได้เต็มๆที่จุดสำคัญที่ต้องเน้นย้ำก็คือ
### ประเภทการ Provisioning
1. Rancher สร้าง Kubernetes RKE ผ่าน Rancher เองเราสามารถควบคุม Life Cycle & Backup Restore Database ETCD ได้ทั้งหมด ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่า Rancher สามารถ Access Control Plane ของ Kubernetes ได้ตรงๆ (เพราะว่า Rancher เป็นคน Provisioning VM ขึ้นมาด้วยตัวเอง) จึงสามารถเข้าถึง ETCD Database, Rotate Certificate ซึ่งความสามารถนี้เกิดขึ้นได้เพราะ Rancher เป็นคนสร้างเองทุกอย่างเสมือนมีคำสั่ง kubeadm ถือติดตัวเอาไว้แล้วเข้าไป Access ได้ทุกอย่าง
2. Cluster ที่สร้างด้วย Hosted Cloud Provider เช่น AWS, Azure, Google ด้วยวิธีการนำ Access Key มาใส่จะไม่สามารถได้ Feature เรื่องของการ Backup/ Restore ETCD นั่นเป็นเพราะเรื่องของการทำ Certificate Rotation, ETCD นั้นเป็น Feature ของแต่ล่ะ Cloud Provider ที่มีไว้ให้เองแล้ว ซึ่งถ้าอยากจะทำก็ต้องไปใช้ commandline ของแต่ล่ะเจ้าในการ backup เองอย่างเช่น google cloud ก็จะมี commandline ในการ rotate certificate (ซึ่งตรงจุดนี้ก็จะเป็น tradeoff ที่เราแลกการ manage คนล่ะครึ่งๆกับ Rancher นั่นเองทำให้เราก็เลยไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด) แต่จะมี Feature Cloning Template Cluster ไปยัง Cluster ใหม่ให้สามารถ Config เหมือนกันได้
3. Imported Cluster ก็จะเหมือนกับ Cluster ที่ถูก provisining ไว้อยู่แล้วเราแค่อยากเครื่อง Cluster นั้นมา Join เข้าไปให้ Rancher Manage ได้เฉยๆนั่นเอง[url ข้อมูลอ้างอิง](https://rancher.com/docs/rancher/v2.x/en/cluster-provisioning/)
ดั่งนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าถ้าเราอยากได้ Feature แบบเต็มๆเลยคือสามารถทั้ง Delete Cluster Backup จัดการ Certificate Solution ทุกอย่างในที่เดียวจบไม่ต้องไปใช้ commandline ของ Cloud แต่ล่ะเจ้าแตกต่างกันไปในการ Backup เราก็อาจจะเลือกให้ Rancher เป็นคนทำทุกอย่างไปเลยนั่นเองจะได้ควบคุมได้ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ก็ไมไ่ด้หมายความว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะบางกรณีการใช้งานการที่เลือกการ Manage คนล่ะครึ่งระหว่าง Cloud Provider ที่มี Kubernetes พร้อมใช้งานเลยอย่าง Azure Kuberentes Service ก็อาจจะตอบโจทย์กว่าก็ได้นั่นเอง (ขึ้นกับเราและความเหมาะสมทุกอย่างมี Tradeoff)
![alt Downstream Cluster Architecure](images/rancher-architecture-cluster-controller.svg)
### Authentication Proxy
หลังจากที่เราได้เห็นภาพของ Kubernetes ไปแล้วว่า Kubernetes นั้นมี RBAC ก็จริงแต่การทำ RBAC Authroization ว่าแต่ล่ะ component บน Kubernetes สามารถ ใช้ Verb อะไร ทำอะไรได้บ้าง แต่ว่าไมไ่ด้มีเรื่องของการ Manage user ที่เป็นคนใช้จริงๆที่เวลาทำการ Authentication อาจจะทำผ่านการ login username password, Active Directory หรือ GitHub แล้วก็ได้ return ออกมาเป็น api otken ให้ใช้งานต่อไปซึ่ง Rancher Authentication proxy นั้นจะทำการจัดการเรื่องของ User ที่เป็นคนใช้จริงๆเพราะเราสามารถสร้าง User ให้สิทธิเขาในหน้าจอของ GUI ได้เลยนั่นเอง### Cluster & Agent
ภายในหนึ่ง Cluster ก็จะมีหนึ่งตัวในการดูสถานะว่า Downstream (Cluster ที่โดน Manage) นั้นมีสถานะเป็นอย่างไรคำสั่งที่ส่งไปนั้นส่งไปถึงหรือไม่ ซึ่งก็จะส่งคำสั่งนี้ไปหา Cluster Agent แต่ถ้า Cluster Agent มีปัญหาก็จะใช้ Node Agent ในแต่ล่ะ Node แทน ซึ่ง Node Agent จะทำงานเป็น DaemonSet (ทำให้การันตีได้ว่าใน Cluster จะต้องมี Node Agent ในทุกๆ Node แน่ๆ)### Authorization Endpoint
หลังจากที่เราเห็นไปแล้วว่า Rancher มี Authentication Proxy ใช้ในการทำ Authentication จากศูนย์กลางแต่ในกรณีที่ Rancher Cluster Down ไปล่ะ ?
เราจะยังสามารถควบคุม Downstream Cluster ได้ไหม ? คำตอบนั่นก้คือได้เพราะว่าในทุกๆ cluster ที่โดน Manage นั้นจะมีการลง Authorization Endpoint เอาไว้ด้วยซึ่งต่อให้ Rancher ที่เป็น Cluster Manage ล่มไปผู้ใช้อย่างเราก็ยังใช้งาน Downstream Cluster ที่มีอยู่ได้อยู่ดีนั่นเองและอีกทั้งยังลดปัญหาเรื่องของ Geography Region ที่ต้อง Request ข้ามไปข้ามมาตลอดด้วยนั่นเอง (อยู่ใกล้อะไรก็ control ไปตามที่ต้องการเลย)
ซึ่งตัวอย่างเช่นเรามี Rancher Clustester อยู่ที่อเมริกา แล้วเรามี Cluster ที่ทำงานจริงๆอยู่ที่ประเทศไทย ซึ่ง Developer ที่ใช้งานอยู่ที่ไทยเขาก็สามารถต่อตรงไปหา Cluster ไทยได้เลยผ่าน Authorizaztion Endpoint ใน Cluster ไทย ไม่จำเป็นต้อง Request ไปหา Cluster Management ที่อเมริกาแล้วให้ proxy ส่งกลับมาที่ไทยอีกที (ภาพกับเสียงประกอบใน Rancher Academy จะตลกมาก 5555)
ดังนั้นถ้าลองสรุปเรื่องของการ Authentication
1. Imported Cluster เราก็ใช้ kubeconfig ที่มีอยู่แล้วต่อไปใช้งานได้เลยไม่มีปัญหาใดๆ
2. Hosted By Cloud Provider ถ้าอยากจะใช้งานเราก็ใช้คำสั่งผ่าน commandline ก็ได้แล้วเช่น az aks get-credentials สำหรับ azure ก็จะได้ kubeconfig มาใช้
3. สร้างใหม่หมดเลยด้วย Rancher เองก็สามารถทำการใช้ User ที่ Generate ใหม่ผ่าน Rancherดังนั้นแล้ว Rancher ก็เหมือนส่วนเสริมในการทำ Authentication นั่นเองใครมีอะไรอยู่แล้วก็ใช้ได้เลยส่วนถ้าอยากจะทำ Authentication สร้าง User เพิ่มก็มาเพิ่มที่ Rancher ได้เช่นกัน
# เริ่ม Config Cluster
rke config นั้นช่วยให้เราสามารถสร้าง manifest ของ rke cluster ได้อย่าง่ายได้และนำมาแก้ไขทีหลังได้ซึ่งข้อมูลที่จะให้ใส่ก็คือเสมือนกับตอนที่เราติดตั้ง kubernetes cluster ใน kubeadm ก็คือการเลือกตั้งแต่ solution container network การกำหนด DNS พื้นฐานที่จะเชื่อมกับ Core DNS หรือถามว่า Node นี้เป็น Control Plane หรือเปล่า เพียงแต่ว่า RKE นั้นมีคำสั่ง Template มาให้แล้วแยกระหว่าง Control Plane, ETCD และ Wroker Node นั่นเอง โดยจะเห็นว่าคำสั่งของ RKE นั้นจะยึดกับ Docker เป็นหลักซึ่งจากที่รองใช้ Podman มานั้นพบว่ายังไม่รองรับและก็ไม่มี Official Support สำหรับ Container Runtime ชนิดอื่น [อ้างอิง github issues](https://github.com/rancher/rancher/issues/20544)
หลังจากที่เรารันคำสั่งีน้ไปแล้วเราจะได้ไฟล์ cluster.yaml มาซึ่งเป็น manifest ของ cluster kubernetes ทั้งหมดว่าถูก config ด้วอยะไรบ้างซึ่งถ้าหากเราต้องการสร้างหรือเพิ่ม Node ใหม่ขึ้นมาอีกก็มาเติมที่ไฟล์ cluster.yaml นี้ได้เลยแล้วเวลาใช้คำสั่งสร้าง cluster ตัว rke ก็จะเช็คสถานะทั้งหมดก็นั่นเอง
```
rke config # คำสั่งเพื่อ Generate Declarative Config ของ Kubernetes RKE Cluster[+] Cluster Level SSH Private Key Path [~/.ssh/id_rsa]:
[+] Number of Hosts [1]: 1
[+] SSH Address of host (1) [none]:
[+] SSH Port of host (1) [22]:
[+] SSH Private Key Path of host () [none]:
[-] You have entered empty SSH key path, trying fetch from SSH key parameter
[+] SSH Private Key of host () [none]:
[-] You have entered empty SSH key, defaulting to cluster level SSH key: ~/.ssh/id_rsa
[+] SSH User of host () [ubuntu]:
[+] Is host () a Control Plane host (y/n)? [y]: y
[+] Is host () a Worker host (y/n)? [n]: y
[+] Is host () an etcd host (y/n)? [n]: y
[+] Override Hostname of host () [none]: cluster-thai
[+] Internal IP of host () [none]:
[+] Docker socket path on host () [/var/run/docker.sock]:
[+] Network Plugin Type (flannel, calico, weave, canal) [canal]:
[+] Authentication Strategy [x509]:
[+] Authorization Mode (rbac, none) [rbac]:
[+] Kubernetes Docker image [rancher/hyperkube:v1.17.14-rancher1]:
[+] Cluster domain [cluster.local]:
[+] Service Cluster IP Range [10.43.0.0/16]:
[+] Enable PodSecurityPolicy [n]:
[+] Cluster Network CIDR [10.42.0.0/16]:
[+] Cluster DNS Service IP [10.43.0.10]:
[+] Add addon manifest URLs or YAML files [no]:```
# สร้าง Cluster
เราจะใช้คำสั่ง rke up เพื่อทำการสร้าง cluster จริงๆโดยอย่างที่บอกก็คือถ้าเราไม่ได้ตั้งค่า SSH Key ตั้งแต่ตอนแรกตัว rke binary เราก็จะไม่สามารถไปรัน automation template ในการติดตั้งให้ได้นั่นเอง และอย่าลืมว่าทุกคเรื่องต้องมี Docker พร้อมใช้งานแล้วด้วยนะ (start service + add user ไปใน group docker) ซึ่งบางครั้งแล้วถ้าเกิดเรามี Memoery เครื่องหรือ CPU ต่ำไปอาจจะเกิด Delay ระหว่างการที่ container image ของ Kubernetes เริ่มทำงานอยู๋แล้วเกิด timeout ได้ก้ไม่ต้องตกใจให้เราใช้คำสั่ง rke up ซ้ำอีกรอบ
```
rke up
```# ผลลัพธ์
หลังจากที่เราทำการสร้าง Cluster สำเร็จแล้วเราจะได้ไฟล์มาสำคัญมากๆมาสองไฟล์นั้นก็คือ cluster.rkestate ซึ่งใช้ในการเก็บ key access ทั้งอย่างของ kubernetes cluster ซึ่งปกติแล้วจะถูกเก้บอยู่ใน /etc/kubernetes/pki [รายละเอียดการจัดการ Certificate Kubernetes PKI](https://kubernetes.io/docs/setup/best-practices/certificates/) แต่ด้วยการที่ทุกอย่างเป็น Docker แล้วการ Backup ก็เลยมาอยู่ในไฟล์นี้แทนนั่นเอง ซึ่งไฟล์นี้ห้ามหายเด็ดขาดต้องบันทึกเอาไว้ตลออดไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถไปทำการสร้าง Node ใหม่มา Join อะไรได้แล้วเพราะว่ามันขาด Key สำคัญในการทำ Signing Certificate ไปนั่นเอง (รวมไปถึงการทำ Authentication)
และอีกไฟลืหนึ่งที่ได้มาจะเป็นไฟล์ kube_config_cluster.yaml ซึ่งภายในก็จะมี token สำหรับใช้ authenticatino กับ kube-apiserver ผ่าน kubectl นั่นเองซึ่งเราจะต้องนำข้อมูลในไฟล์นี้ไปเซ็ทใน ~/.kube/config ภายใน laptop ของเราหรือจะเซ็ทเป็น environment variable ก็ได้ขอเพียงแค่เราเก็บไฟล์นี้เอาไว้นั่นเอง# ทดสอบการใช้งาน Kuberentes Cluster
ส่วนตัวแล้วผมไม่ชอบการเติม flags argument แบบ --kubeconfig ใน terminal เพราะมักจะลืมเติมทุกทีหรือจะเป็น environment variable ก็รู้สึกไม่สะดวกชอบแบบสามารถสลับ contexts ไปมาได้มากกว่าเเพราะชัดเจนและเห็นภาพรวมทั้งหมดดังนั้นผมจะ copy ข้อมูลไปไปแปะใน ~/.kube/config ซึ่งเป็น default directory ของ kubernetes ในการ load config ไฟล์มาใช้
concepts ของ contexts คือการ mapping ระหว่าง user ที่จะไปใช้งานยัง cluster นั้นๆดังนั้นแล้วให้เรา copy ข้อมูลจาก array cluster, user และ contexts ไปแปะใน config ของเราเพิ่ม เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว (เราสามารถ rename ชื่อ cluster, contexts เป็นอะไรก็ได้ที่เราชอบเพื่อความเข้าใจง่าย)
```
kubectl config get-contexts # คำสั่งในการดู contexts ทั้งหมดที่เรามีภายใน kubeconfigCURRENT NAME CLUSTER AUTHINFO NAMESPACE
docker-desktop docker-desktop docker-desktop
docker-for-desktop docker-desktop docker-desktop
istio-demo istio-demo istio-demo
kube-devops kube-devops clusterUser_Elasticsearch-Stack_kube-devops
kube-devops-admin kube-devops clusterAdmin_Elasticsearch-Stack_kube-devops
* kubeadm kubeadm kubernetes-admin
rke rke kube-admin-local
```
จะเห็นว่าปัจจุบันเครื่องเหมาย asterisk * นั้นแสดงว่าเรากำลังใช้งาน contexts ใดซึ่งเราก็สามารถทำการสลับ context ได้จากการใช้คำสั่ง use-context ไปยัง rke clsuter ที่เราสร้างขึ้น (ผมแก้ contexts กับ cluster name ภายใน kube_config_cluster.yaml ให้ชื่อ rke จากเดิมที่ชื่อ kube-admin-local)
```
[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ kubectl config use-context rkeSwitched to context "rke".
[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ kubectl config get-contexts
CURRENT NAME CLUSTER AUTHINFO NAMESPACE
docker-desktop docker-desktop docker-desktop
docker-for-desktop docker-desktop docker-desktop
istio-demo istio-demo istio-demo
kube-devops kube-devops clusterUser_Elasticsearch-Stack_kube-devops
kube-devops-admin kube-devops clusterAdmin_Elasticsearch-Stack_kube-devops
kubeadm kubeadm kubernetes-admin
* rke rke kube-admin-local[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ kubectl config current-context
rke```
ทดลองเรียกใช้คำสั่ง kubectl get pod -A เพื่อดู pod ทุก namespaces ว่าทำงานได้ปกติจริงๆเราไม่มีปัญหาเรื่องการ authentication
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มานานจะเหมือนกับที่บอกไว้คือเราจะไม่เห็น Pod ของ ETCD หรือพวก Component Control Plane ใดๆแต่พวกนั้นจะถูกทำงานเป็น Container ในแต่ล่ะ Host เฉยๆเท่านั้นซึ่งเราจะลองไป debug กันในส่วนถัดไปครับ (ผลลัพธ์ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันนะ ขอแค่สามารถเรียกใช้ kubectl get pod แล้วไม่ติด error ก็พอแล้วเพระาันนี้ผมติดตั้งไปก่อนแล้ว)
```
[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ kubectl get pod -A
NAMESPACE NAME READY STATUS RESTARTS AGE
cattle-system rancher-65db98499b-4xr6n 1/1 Running 13 45h
cattle-system rancher-65db98499b-hcdbs 1/1 Running 5 45h
cattle-system rancher-65db98499b-z4bbx 1/1 Running 4 45h
cattle-system rancher-webhook-7bc7ffdf7c-rph95 1/1 Running 3 45h
cert-manager cert-manager-56d6bbcb86-v2mcv 1/1 Running 6 45h
cert-manager cert-manager-cainjector-6dd56cf757-jglzz 1/1 Running 12 45h
cert-manager cert-manager-webhook-6f84f655fb-lpbp6 1/1 Running 3 45h
default apache-7bdd496cfd-5cwjz 1/1 Running 3 41h
default nginx-6d8c56b84c-bhf4r 1/1 Running 3 41h
default nginx-6d8c56b84c-hwhw5 1/1 Running 3 41h
default nginx-6d8c56b84c-k2vrg 1/1 Running 3 41h
default nginx-6d8c56b84c-s96fx 1/1 Running 3 41h
fleet-system fleet-agent-77c78f9c74-f88kf 1/1 Running 6 45h
fleet-system fleet-controller-5d5dbcc7b9-6cp59 1/1 Running 17 45h
fleet-system gitjob-84b99676d4-vlh5f 1/1 Running 6 45h
ingress-nginx default-http-backend-67cf578fc4-f6mhc 0/1 MatchNodeSelector 0 46h
ingress-nginx default-http-backend-67cf578fc4-h6p64 1/1 Running 0 3m55s
ingress-nginx nginx-ingress-controller-ffqhb 1/1 Running 4 44h
kube-system calico-kube-controllers-65996c8f7f-xjbjk 1/1 Running 4 44h
kube-system calico-node-7pg7v 1/1 Running 3 44h
kube-system calico-node-fjtlh 1/1 Running 4 44h
kube-system calico-node-z2n2t 1/1 Running 4 44h
kube-system coredns-7c5566588d-s7mf5 1/1 Running 3 44h
kube-system coredns-autoscaler-65bfc8d47d-w46ww 1/1 Running 3 44h
kube-system metrics-server-6b55c64f86-xcbjj 1/1 Running 3 44h
kube-system rke-coredns-addon-deploy-job-6tknj 0/1 Completed 0 46h
kube-system rke-ingress-controller-deploy-job-hqxbm 0/1 Completed 0 46h
kube-system rke-metrics-addon-deploy-job-n8cp8 0/1 Completed 0 46h
kube-system rke-network-plugin-deploy-job-9b6w2 0/1 Completed 0 46h
rancher-operator-system rancher-operator-dc6876565-2bzh2 1/1 Running 6 45h
```# ติดตั้ง Rancher ไปยัง RKE Cluster
ขึ้นตอนในการติดตั้ง Rancher ไปยัง Cluster Kubernetes ของเรานั่นก็คือเราจำเป็นที่จะต้องเตรียม Certificate เอาไว้และทำการแนบ Certificate นั้นไปกับ Helm ในการ Deploy แต่ถ้าหากเราไม่แนบ Certificate ไปด้วยจะถือว่าเราใช้ Default Option ในการ Deploy โดยให้ Rancher Generate Certificate เองซึ่งในเงื่อนไขนี้จำเป็นที่จะต้องให้ Cluster ของเรามี Cert-Manager ซึ่งเป็น Custom Resource Defination ในการจัดการรื่องขอ Certificate (ทั้งแบบ production และ self-signed) ซึ่งสำหรับบทความในการขอทำ Certificate ผ่าน Cert Manager นั้นสามารถไปอ่านที่บทความของผมแบบรายละเอียดได้ที่ Medium ผ่าน Link เลยครับ
![alt ](images/service%20mesh%20SSL%20DNS.png)
[ทำความเข้าใจ TLS/ Certificate บน Kubernetes และ Service Mesh Gateway ผ่าน Cert-Manager แบบDNS Challenge](https://wdrdres3qew5ts21.medium.com/a5026c9ad4bc)เราจะเริ่มกันที่การสร้าง namespace ที่ชื่อว่า cert-manager ก่อนและติดตั้ง Cert-Manager ไปยัง namespace เดียวกับที่เราตั้งไว้
ซึ่ง namespace ที่ใช้ในการติดตั้ง rancher ก็จะแนะนำติดตั้งตาม recommendation (เพื่อจะได้ไม่สับสนและหาเจอง่ายๆ) คือ namespace ชื่อ cattle-system
แล้วก็ทำการตั้งค่า default domain ที่ rancher จะ listen ว่า Serve ที่ Domain ใดซึ่งเราสามารถตั้งได้ตามใจชอบซึ่งอันนี้ผมทำบน local Workstation Fedora 33 ก็จะ เซ็ท host ให้ชื่อ rancher.cloudnative
```
kubectl create namespace cert-managerhelm repo add jetstack https://charts.jetstack.io
helm repo add rancher-stable https://releases.rancher.com/server-charts/stable
helm repo update
helm install \
cert-manager jetstack/cert-manager \
--namespace cert-manager \
--version v1.1.0 \
--set installCRDs=truekubectl create namespace cattle-system
helm install rancher rancher-stable/rancher \
--namespace cattle-system \
--set hostname=rancher.cloudnative
```
### ทดลองตรวจสอบผลลัพธ์
ถ้าผลลัพธ์การติดตั้งถูกต้องและเรามี Memory, Disk เพียงพอก็จะสามารถติดตั้งและ Deploy ได้สำเร็จแต่ในกรณีเราเรามี Memory น้อยเกินไป Pod ก็จะไม่สามารถ Schedule ได้หรืออาจจะ deploy ไปสักพักแล้วโดน Evicted ออกหมดทั้งหมดก็มีดังนั้นเพื่อให้ใช้ได้แบบอุ่นใจก็อย่าลืมดูเรื่องของ Memory, Disk ด้วยนะ
```
kubectl get pod -n cattle-system[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ kubectl get pod -n cattle-system
NAME READY STATUS RESTARTS AGE
rancher-65db98499b-4xr6n 1/1 Running 13 45h
rancher-65db98499b-hcdbs 1/1 Running 5 45h
rancher-65db98499b-z4bbx 1/1 Running 4 45h
rancher-webhook-7bc7ffdf7c-rph95 1/1 Running 3 46h[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ kubectl get pod -n cert-manager
NAME READY STATUS RESTARTS AGE
cert-manager-56d6bbcb86-v2mcv 1/1 Running 6 46h
cert-manager-cainjector-6dd56cf757-jglzz 1/1 Running 12 46h
cert-manager-webhook-6f84f655fb-lpbp6 1/1 Running 3 46h
```![alt Welcome Homepage Rancher](images/welcome%20rancher.png)
ซึ่งวิธีการ set domain นั่นก็คือการไปแก้ไขที่ไฟล์ /etc/hosts ตรงๆก็ได้เช่นกัน (Window จะอยู่ใน System32/driver/etc/hosts)
```
[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ cat /etc/hosts
192.168.122.242 rancher.cloudnative
127.0.0.1 localhost localhost.localdomain localhost4 localhost4.localdomain4
::1 localhost localhost.localdomain localhost6 localhost6.localdomain6
```
ถ้าหากใครมีปัญหาเข้าไปที่ Domain ไม่ได้ให้ลองเช็คดูด้วยนะว่าเราเข้าไปที่ Port 443 ที่ listen ไว้หรือเปล่า
```
[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ kubectl get ingress -n cattle-system -owide
NAME HOSTS ADDRESS PORTS AGE
rancher rancher.cloudnative 192.168.122.242 80, 443 46h```
เพราะถ้าเราไม่ได้ใช้ hosts เป็น * ก็หมายความว่า Domain ที่เข้ามานั้นต้อง Mapping ให้ตรงกันจริงๆด้วยถึงจะเข้าไปได้
![alt All Cluster](images/cluster%20management.png)
เมือเข้ามาก็จะเจอกับ Cluster ที่เราสามารถใช้งาไนด้จริงซึ่งก็จะนับกับเครื่องที่เป็น Worker Node นั่นเอง
![alt Local Cluster Detail](images/local%20cluster.png)
หน้านี้ก็จะเป็นการนำ Metrics จาก Metrics Server มาแสดงผลวึ่งเราก็สามารถดูได้ผ่าน commandline เช่นกันผ่านคำสั่ง kubectl top [pod/ node]
```
[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ kubectl top node
NAME CPU(cores) CPU% MEMORY(bytes) MEMORY%
kube-master 492m 24% 1304Mi 34%
kube-worker 418m 20% 1847Mi 48%
rancher-host 453m 22% 1327Mi 34%
```
เราจะลองมาดูกันว่าแล้ว Cluster นี้มีกี่ Node ได้จาก Tab Node ซึ่งถ้าใช้ไฟล์ manifest ตามของผมนั้นก็จะสร้างมาทั้งหมด 3 Node ด้วยกันแต่จะมีแค่ Node เดียวเท่านั้นที่เป็น Worker Node ทำให้เราเห็น Resource แบบสรุปแล้วแค่ Node เดียวนั่นเอง
![alt Node Detail in Cluster](images/cluster%20node%20detail.png)
จากนี้เราจะลองมาเปลี่ยน Role ของ Node กันด้วยการแก้ผ่าน rke command lineโดยจะทดลองเปลี่ยน kube-master ให้มี role เป็น Worker Node แต่เราจะมาเริ่มดู Overview GUI ของ Rancher กันก่อนว่า Configuration แต่ล่ะ Node นั้นดูได้จากที่ไหน# Node Role
ดูได้จาก label ที่แปะไว้ว่าเป็น node ประเภทไหน
1. node-role.kubernetes.io/worker: "true"
2. node-role.kubernetes.io/controlplane: "true"
3. node-role.kubernetes.io/etcd: "true"
### Worker node
```
apiVersion: v1
kind: Node
metadata:
annotations:
node.alpha.kubernetes.io/ttl: "0"
projectcalico.org/IPv4Address: 192.168.122.242/24
projectcalico.org/IPv4IPIPTunnelAddr: 10.42.73.128
rke.cattle.io/external-ip: 192.168.122.242
rke.cattle.io/internal-ip: 192.168.122.242
volumes.kubernetes.io/controller-managed-attach-detach: "true"
creationTimestamp: "2020-12-25T06:50:10Z"
labels:
beta.kubernetes.io/arch: amd64
beta.kubernetes.io/os: linux
kubernetes.io/arch: amd64
kubernetes.io/hostname: kube-worker
kubernetes.io/os: linux
node-role.kubernetes.io/worker: "true"
name: kube-worker
resourceVersion: "47985"
selfLink: /api/v1/nodes/kube-worker
uid: 68751cc1-6d05-48d6-9a62-a7eb2140a0e1
spec:
podCIDR: 10.42.2.0/24
podCIDRs:
- 10.42.2.0/24
```
### Control Plane, ETCD Node
```
apiVersion: v1
kind: Node
metadata:
annotations:
node.alpha.kubernetes.io/ttl: "0"
projectcalico.org/IPv4Address: 192.168.122.27/24
projectcalico.org/IPv4IPIPTunnelAddr: 10.42.221.192
rke.cattle.io/external-ip: 192.168.122.27
rke.cattle.io/internal-ip: 192.168.122.27
volumes.kubernetes.io/controller-managed-attach-detach: "true"
creationTimestamp: "2020-12-25T06:50:08Z"
labels:
beta.kubernetes.io/arch: amd64
beta.kubernetes.io/os: linux
kubernetes.io/arch: amd64
kubernetes.io/hostname: kube-master
kubernetes.io/os: linux
node-role.kubernetes.io/controlplane: "true"
node-role.kubernetes.io/etcd: "true"
name: kube-master
resourceVersion: "49813"
selfLink: /api/v1/nodes/kube-master
uid: 8710f2a4-79ff-4b14-9c23-b6caee1c0e06
```ซึ่งเราสามารถทดลองไปแก้ไขได้จากการ Inspect เข้าไปใน Cluster นั้นผ่าน GUI Cluster Explorer เมื่อกดไปแล้ว URL ลอง Domain ก็จะเปลี่ยนไปมีคำว่า /explorer ต่อท้ายเป็น rootpath เริ่มต้นสำหรับ View Mode Cluster นั้นๆซึ่งจะใช้งานแทน Kubernetes Dashboard ได้เลยและให้รายละเอียดที่ชัดเจนมากกว่า
![alt Cluster Explorer](images/cluster-explorer/cluster%20exploter%20dashboard.png)เราจะลองเข้าไปต่อที่ Node Detail ในหน้า View ของ Cluster Explorer
ซึ่งตรงนั้นจะแสดงให้เราเห็นถึง Threshold ที่ตั้งโดย Kubelet แบบเห็นชัดเจนเข้าใจง่ายว่า Node ของเรานั้นมีปัญหาหรือไม่รวมไปถึง Metrics ต่างๆอีกด้วย
![alt Cluster Explorer](images/cluster-explorer/node%20describe%20metrcis.png)เราสามารถสลับ View โหมดให้เป็น YAML ได้โดยการกดที่ tab YAML
![alt Cluster Explorer](images/cluster-explorer/yaml%20node.png)### ทดลองเปลี่ยน Role ของ Node ผ่านการแก้ไข Declarative YAML
เราจะลองไปแก้ไข clsuter.yaml กันซึ่งเป็น manifest แห่งความจริงว่า cluster ของเรานั้นมีสถานะเป็นอย่างไร (การแก้ไขเกี่ยวกับ cluster จะแก้ผ่านไฟล์นี้เท่านั้น) เราจะแก้ role จาก controlplane ให้เป็น worker และใช้คำสั่ง rke up ในการเปลี่ยน state ของ cluster
![alt Cluster Explorer](images/cluster-explorer/change%20role.png)```
[linxianer12@fedora certified-rancher-operator]$ rke upINFO[0000] Running RKE version: v1.0.14
INFO[0000] Initiating Kubernetes cluster
INFO[0000] [certificates] Generating Kubernetes API server certificates
INFO[0000] [certificates] Generating admin certificates and kubeconfig
INFO[0000] Successfully Deployed state file at [./cluster.rkestate]
INFO[0000] Building Kubernetes cluster
INFO[0000] [dialer] Setup tunnel for host [192.168.122.242]
INFO[0000] [dialer] Setup tunnel for host [192.168.122.216]
INFO[0000] [dialer] Setup tunnel for host [192.168.122.27]
INFO[0001] [network] Deploying port listener containers
INFO[0001] Image [rancher/rke-tools:v0.1.66] exists on host [192.168.122.27]
INFO[0001] Image [rancher/rke-tools:v0.1.66] exists on host [192.168.122.216]
INFO[0001] Starting container [rke-etcd-port-listener] on host [192.168.122.27], try #1
```
เมื่อเรากลับเข้ามาดูที่ Dashboard อีกครั้งหนึ่งเราจะพบว่า Cluster Explorer นั้นเห็น resource ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาแล้วคือ Host อีกเครื่องหนึ่งจึงมี Resource เพิ่มขึ้นจาก Memory 4GB กลายเป็น 8GB นั่นเองและจำนวน Pod ก็เพิ่มขึ้นจาก 110 Pod กลายเป็น 220 Pod
![alt Merged Node to Cluster](images/cluster-explorer/merge%20worker%20node.png)# Backup Snapshot
ในส่วนต่อมาเราจะทดลองใช้ Feature การ Backup ETCD Database เอาไว้เพื่อว่าเรา Cluster ของเรานั้นมีปัญหาจะได้สามารถกู้ State ของ Cluster กลับมาได้ (เป็นแค่การ Backup State ของ Cluster นะแต่ไมไ่ด้ Backup Persistent Volume ของ Cluster แต่อย่างใด)
ซึ่งข้อมูลที่เก็บใน ETCD ก็เป็น Object ของ Kubernetes ที่บอกว่า Node นี้มี Pod อะไรบ้าง หรือ User ต่างๆการทำ RBAC ก็จะถูกเก็บใน ETCD ด้วยเช่นกันดังนั้นตัวอย่างเราจะทำการทดลองสร้าง User ขึ้นมาใหม่และ Deployment เว็บเกมเลี้ยงไข่ไดโนเสาร์
จากนั้นเราจะจำลองเหตุการณ์มือลั่น เผลอไปลบ Deployment เว็บไซต์นั้น และลบ User ออกจากระบบ แต่เราจะกู้ State ของ Cluster กลับมาด้วยการใช้ rke command line
[alt Orientation 2018 กับการสร้าง SIT Dino ที่ไม่ได้ให้แค่การเป็นเกมบนเว็บไซต์
](https://alchemist.itbangmod.in.th/dfbec95337ad)
```
Deployment
container Image: linxianer12/frontend-dino
label: app=frontend-dino
port: 3000Service NodePort
port: 3000 # Port ที่ใช้เรียกภายใน Cluster Kubernetes
targetPort: 3000 # ชี้ไปหา port 3000 ของ pod ที่ต้องการ
nodePort: xxxxx # High Port ที่แรนด้อมเปิดให้ Access จากข้างนอกมายัง Pod ใน Cluster ได้
selector: app=frontend-dino
externalIp= IP ของ VM ใน Cluster
```
เราจะไปที่ Deployment Section และกดปุ่ม Create เพื่อทำการสร้าง Template การ Deploy ผ่าน GUI ซึ่งก็จะเป็น Template เหมือนกับเวลาที่เราสร้างผ่าน kubectl create deployment --image -oyaml นั่นเอง เพียงแต่ตอนนี้เราจะสามารถให้ Kubernetes ของเราใช้งานได้ง่ายสะดวกกับทุกๆคนเพียงใช้งานผ่าน GUI ได้เลยจากนั้นการปรับตัวไปใช้ command line ก็จะทำได้ง่ายขึ้นเพราะเห็นภาพรวมมารวมพอแปลงเป็นคำสั่ง CLI ปุ๊ป ก็จะเห็นภาพว่าแต่ล่ะอย่าง mapping กันได้อย่างไรนั่นเอง![alt Deploy Open Online Testing System](images/cluster-explorer/deploy-1.png)
![alt Deploy Open Online Testing System](images/cluster-explorer/deploy-2.png)
หลังจากที่เรา Deploy Application ไปแล้วเราก็จะทำการเปิด Service ใน Kubernetes ให้สามารถ Access ได้จากภายนอกเข้ามายัง Cluster ของเราผ่าน Service NodePort ซึ่งถ้าใครยังสับสนเรื่องของ Kubernetes Service สามารถไปอ่านได้ที่ [สรุปเรื่อง Kubernetes Services บน GKE หลังศึกษาและทดลองอย่างเอาจริงเอาจัง](https://www.spicydog.org/blog/my-summary-on-gke-services/)
โดยเราจะทำการเปิด NodePort ไปยัง Application ของเราผ่าน selector ที่เหมือนกันคือ app=frontend-dino
![alt Deploy Open Online Testing System](images/cluster-explorer/service1.png)![alt Deploy Open Online Testing System](images/cluster-explorer/service2.png)
![alt Deploy Open Online Testing System](images/cluster-explorer/service3.png)
![alt Deploy Open Online Testing System](images/cluster-explorer/service4.png)
### ผลลัพธ์การ Setup Application และ Service
```
[linxianer12@fedora ~]$ kubectl get pod -o wide
NAME READY STATUS RESTARTS AGE IP NODE NOMINATED NODE READINESS GATES
apache-7bdd496cfd-5cwjz 1/1 Running 4 2d1h 10.42.73.187 kube-worker
frontend-dino-bc7b7485c-9ndb8 1/1 Running 0 36m 10.42.73.188 kube-worker
nginx-6d8c56b84c-bhf4r 1/1 Running 4 2d1h 10.42.73.182 kube-worker
nginx-6d8c56b84c-hwhw5 1/1 Running 4 2d1h 10.42.73.178 kube-worker
nginx-6d8c56b84c-k2vrg 1/1 Running 4 2d1h 10.42.73.174 kube-worker
nginx-6d8c56b84c-s96fx 1/1 Running 4 2d1h 10.42.73.180 kube-worker[linxianer12@fedora ~]$ kubectl get svc -o wide
NAME TYPE CLUSTER-IP EXTERNAL-IP PORT(S) AGE SELECTOR
apache ClusterIP None 42/TCP 2d1h workload.user.cattle.io/workloadselector=deployment-default-apache
frontend-dino-service NodePort 10.43.247.220 192.168.122.242 3000:30835/TCP 12m app=frontend-dino
kubernetes ClusterIP 10.43.0.1 443/TCP 2d6h
```
เราจะทดลองเข้าไปดูที่ Application เกมเลี้ยงไข่ไดโนเสาร์ของเราที่ IP 192.168.122.242 ซึ่ง mapping เข้ากับ nodePort 30835 สำหรับรับ Traffic จากภายนอก Cluster เข้ามา
![alt Result SIT Dino](images/cluster-explorer/app%20result.png)### เริ่มการ Backup ETCD State ก่อนเกิด Disaster
เราจะใช้คำสั่ง rke ในการทำ snapshot ผ่านคำสั่งดั่งนี้ ซึ่งการ Backup นั้นสามารถแนบ key เพื่ออัพโหลด snapshot ขึ้นไปที่ AWS S3 Storage ก็ได้ด้วยเช่นกัน
```
rke etcd snapshot-save --name vanila-system # ไฟล์จะถูกเก็บใน /opt/rke/etcd-snapshots เวลา restore ให้ระบุชื่อไฟล์นั้นลงไป```
เราจะมาทดลองเหตุการณ์มือลั่นกันด้วยการเผลอไปลบทุกอย่างออกจาก namespace ด้วยการใช้ kubectl delete deployment แต่ลืมชื่อ Deployment
จะส่งผลให้ Kubernetes ทำการลบทุกๆ Deployment ใน Namespace นั้นออกไป
```
kubectl delete deployment --alldeployment.apps "apache" deleted
deployment.apps "frontend-dino" deleted
deployment.apps "nginx" deleted
```
### Restore ETCD Database
ระหว่างที่เรา Restore Cluster นั้นมีข้อเสียนิดหน่อยก็คือ Cluster จะเกิด Downtime ลงไปสักพักหนึ่งเพราะว่า ETCD จำเป็นต้อง Sync ให้ทุกๆอย่างใน Cluster มีข้อมูลเหมือนกันเห็นเหมือนกัน [alt ETCD KV API การันตีการ Consistency](https://etcd.io/docs/v3.3.12/learning/api_guarantees/) จึงทำให้การ Restore Clsuter จึงเกิด Downtime ลงไปด้วยเพราะ ETCD นั้นถูกหยุดไปสักพัก (แต่ของที่รันอยู่ Node อื่นก็จะยังทำงานได้นะแค่ kube api-server อาจจะดับไปสักพักหนึ่งรบคำสั่งใหม่ไมไ่ด้)
ซึ่งไฟล์ snapshot นั้นจะถูกเก็บไว้ใน host ที่มี ETCD (ซึ่งหมายความว่าถ้า Host VM ล่มๆจริงๆมาแล้วเราไม่มี Backup ไปเก็บที่อื่นข้อมูลก็จะหายนะ)```
ubuntu@kube-master:/opt/rke/etcd-snapshots$ ls -al
total 15256
drwxr-xr-x 2 root root 4096 Dec 27 21:06 .
drwxr-xr-x 3 root root 4096 Dec 25 15:05 ..
-rw------- 1 root root 13443104 Dec 27 21:06 vanila-system
-rw------- 1 root root 2165687 Dec 27 21:01 vanila-system.zip
ubuntu@kube-master:/opt/rke/etcd-snapshots$ pwd
/opt/rke/etcd-snapshots
``````
rke etcd snapshot-restore --name vanila-systemINFO[0000] Running RKE version: v1.0.14
INFO[0000] Restoring etcd snapshot vanila-system
INFO[0000] Successfully Deployed state file at [./cluster.rkestate]
INFO[0000] [dialer] Setup tunnel for host [192.168.122.216]
INFO[0000] [dialer] Setup tunnel for host [192.168.122.27]
INFO[0000] [dialer] Setup tunnel for host [192.168.122.242]
INFO[0001] Checking if container [cert-deployer] is running on host [192.168.122.216], try #1
INFO[0001] Checking if container [cert-deployer] is running on host [192.168.122.27], try #1
INFO[0001] Image [rancher/rke-tools:v0.1.66] exists on host [192.168.122.27]
INFO[0001] Image [rancher/rke-tools:v0.1.66] exists on host [192.168.122.216]
INFO[0001] Starting container [cert-deployer] on host [192.168.122.216], try #1
INFO[0001] Starting container [cert-deployer] on host [192.168.122.27], try #1
INFO[0001] Checking if container [cert-deployer] is running on host [192.168.122.216], try #1
INFO[0001] Checking if container [cert-deployer] is running on host [192.168.122.27], try #1
INFO[0006] Checking if container [cert-deployer] is running on host [192.168.122.216], try #1
INFO[0006] Removing container [cert-deployer] on host [192.168.122.216], try #1
INFO[0006] Checking if container [cert-deployer] is running on host [192.168.122.27], try #1
INFO[0006] Removing container [cert-deployer] on host [192.168.122.27], try #1
INFO[0007] Stopping container [etcd] on host [192.168.122.216] with stopTimeoutDuration [5s], try #1
INFO[0007] [etcd] starting backup server on host [192.168.122.216]
INFO[0007] Image [rancher/rke-tools:v0.1.66] exists on host [192.168.122.216]
INFO[0007] Starting container [etcd-Serve-backup] on host [192.168.122.216], try #1
INFO[0007] [etcd] Successfully started [etcd-Serve-backup] container on host [192.168.122.216]
```Highlight อยู่ที่ Control Plane
ถ้าเป็น Hosted Provider ที่ Rancher ไม่ได้คุม Control Plane ก็จะไม่สามารถทำเรื่องของการ Backup ได้เพราะว่าไมีสามารถ Access Control Plane แต่ทำแบบ Life Cycle Delete ให้อะไรได้แบบนี้ (เพราะมี API KEY Cloud )
ถ้าเป็น Import ก็คือไม่สามารถทได้ทั้ง Life Cycle และการ Backup แต่ทำได้แค่เรื่องของการ Deploy อย่างเดียวนั่นเอง เพราะว่าไม่มี Key Cloud และก็คุม Control Plane ไมไ่ด้ด้วย (เหมือนที่ได้บอกประเภทของ Host ที่ Rancher Manage ตอนแรกครับ)Window สามารถทำเป็น Worker ได้แต่ถ้า Etcd/ Control Plane ต้อง Linux เท่านั้น
# Debug Control Plane
เราจะสังเกตเห็นว่า Leader นั้นวิธีการดูจะต่างจาก Kubernetes ปกติเพราะว่าเราไม่มี Kubelet ตรงๆหรือ API Server Command แต่เราสามารถดูได้จากการไปดูที่ Endpoint แล้วดูจาก Annotation ที่แปะไว้ว่าใครเป็น Leader ผ่านคำสั่ง
แต่ความน่าสนใจคือ Kubelet ปกติที่ต้องเป็น Service จริงๆลงผ่าน systemd แต่มันจะไม่มีใน Rancher เพราะใช้ทุกอย่างเป็น Docker แทนโดยเราจะเห็น Service ได้จากการลองดูผ่าน Container ของ Docker ผ่าน docker ps ได้นั่นเอง (แทน kubelet แบบ service)
ETCD, kube-apiserver และ kube-scheduler นั้นจะดูได้ผ่าน Docker จริงๆเท่านั้นไม่เห็นบน kubectl (ในนั้นมีแค่ Core-DNS)
```
kubectl get ep -n kube-system [ชื่อ endpoint] -oyamlapiVersion: v1
kind: Endpoints
metadata:
annotations:
control-plane.alpha.kubernetes.io/leader: '{"holderIdentity":"kube-master_fd8f3184-49bc-4c67-866b-290a91168bdd","leaseDurationSeconds":15,"acquireTime":"2020-12-25T09:22:43Z","renewTime"
:"2020-12-25T09:23:47Z","leaderTransitions":2}'
creationTimestamp: "2020-12-25T06:49:31Z"
name: kube-controller-manager
namespace: kube-system
resourceVersion: "42493"
selfLink: /api/v1/namespaces/kube-system/endpoints/kube-controller-manager
uid: 5976f823-682e-41ec-a368-f2fb07336361
[linxianer12@fedora rancher-operator]$
[linxianer12@fedora rancher-operator]$ kubectl -n kube-system get ep kube-scheduler -oyaml
apiVersion: v1
kind: Endpoints
metadata:
annotations:
control-plane.alpha.kubernetes.io/leader: '{"holderIdentity":"kube-master_50422138-65f6-42ef-b713-ee4008300a64","leaseDurationSeconds":15,"acquireTime":"2020-12-25T09:22:59Z","renewTime"
:"2020-12-25T09:23:51Z","leaderTransitions":2}'
creationTimestamp: "2020-12-25T06:49:33Z"
name: kube-scheduler
namespace: kube-system
resourceVersion: "42516"
selfLink: /api/v1/namespaces/kube-system/endpoints/kube-scheduler
uid: 16cb8db2-62a9-49b4-96b4-56882fac1173
[linxianer12@fedora rancher-operator]$
```# Debug Nginx Proxy
Nginx Proxy มีไว้สำหรับทำให้ Pod ที่ไมไ่ด้รันอยู๋ใน Control Plane Node สามารถติดต่อไปหา Control Plane ที่มี API-Server ได้เพราะว่า Nginx Proxy มาทำ Upstreeam จำลองเอาไว้ ต้องไปดูใน Docker Container ของแต่ล่ะ Node นั้น ซึ่งตัว Container Nginx Proxy นั้นจะใช้ Network แบบ host ทำให้สามารถเรียกใช้ผ่าน localhost ได้ที่ port 6443 ของแต่ล่ะ Worker Node เมื่อยิงไปที่ local ตัวเองแต่การ proxy ก็จะส่งไปให้เครื่อง Control Plane ได้นั่นเอง !!!
### /etc/nginx/nginx.conf
```
stream {
upstream kube_apiserver {
server 192.168.122.216:6443;
server 192.168.122.27:6443;
}
server {
listen 6443;
proxy_pass kube_apiserver;
proxy_timeout 30;
proxy_connect_timeout 2s;
}
}ubuntu@kube-worker:~$ curl localhost:6443
Client sent an HTTP request to an HTTPS server.
ubuntu@kube-worker:~$ curl https://localhost:6443
ubuntu@kube-worker:~$ curl -k https://localhost:6443
{
"kind": "Status",
"apiVersion": "v1",
"metadata": {
},
"status": "Failure",
"message": "Unauthorized",
"reason": "Unauthorized",
"code": 401
}ubuntu@kube-worker:~$ netstat -tlpn
(Not all processes could be identified, non-owned process info
will not be shown, you would have to be root to see it all.)
Active Internet connections (only servers)
Proto Recv-Q Send-Q Local Address Foreign Address State PID/Program name
tcp 0 0 0.0.0.0:443 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 0.0.0.0:443 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 127.0.0.1:10245 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 127.0.0.1:10246 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 127.0.0.1:10247 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 127.0.0.1:42919 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 127.0.0.1:10248 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 127.0.0.1:10249 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 127.0.0.1:9099 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 0.0.0.0:6443 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 0.0.0.0:80 0.0.0.0:* LISTEN -
tcp 0 0 0.0.0.0:80 0.0.0.0:* LISTEN -```
### Debug Control Plane Component
เราจะพบว่าทั้ง Stack ของ Rancher นั้นใช้ทุกอย่างบน Docker Container จริงๆและถ้า Component ไหนที่จะต้องการเปิด Port ให้เห็นบน Host ก็จะเลือกใช้ Driver Host ของ docker ในการ Expose Port ออกมา (เห็นบน localhost ของ machine จริงๆ)
```
ubuntu@kube-worker:~$ docker network ls
NETWORK ID NAME DRIVER SCOPE
9dcab653458d bridge bridge local
23bf96ab0ef4 host host local
e3ce3961cbc0 none null local
ubuntu@kube-worker:~$ docker network inspect 23b[
{ "Name": "host",
"Id": "23bf96ab0ef46665091168dae64213d4ad737f9cfcc8bcdb5dabd58351b0be3f",
"Created": "2020-12-25T13:43:44.977522284+07:00",
"Scope": "local",
"Driver": "host",
"EnableIPv6": false,
"IPAM": {
"Driver": "default",
"Options": null,
"Config": []
},
"Internal": false,
"Attachable": false,
"Ingress": false,
"ConfigFrom": {
"Network": ""
},
"ConfigOnly": false,
"Containers": {
"1f64516f3260b76b7b30a14abb1d017bf2efcb4edd243f9da8c53c898d0bf7f7": {
"Name": "k8s_POD_nginx-ingress-controller-ffqhb_ingress-nginx_0c8934f9-b7a6-4fa7-be51-1dcd5ec254f2_0",
"EndpointID": "c29c3b8e53c7cba8eb135b849675c465b6f1ebbf0d20770f75f1561797f7684d",
"MacAddress": "",
"IPv4Address": "",
"IPv6Address": ""
},
"2ba19e6d704753104065f593af17be3cc033c6d041d45ecaeef86d32b28282b3": {
"Name": "nginx-proxy",
"EndpointID": "7bd2e2f6e15662334a571b8a913549a182db5daf0f3d3f35ebd9b3d6e67aeb81",
"MacAddress": "",
"IPv4Address": "",
"IPv6Address": ""
},
"365a8024834d8e00197c13c86a509a365594bd16eb3b71d1efcce092a2fb0ce9": {
"Name": "kubelet",
"EndpointID": "17165544d3c30458d41b05520dd1f41f4a26a0a12af23361d274cc58addf7647",
"MacAddress": "",
"IPv4Address": "",
"IPv6Address": ""
},
"78b96a4e35593e01d84a260f46d205f5676b43a8a0e1bd6dcd0c345f648ead6f": {
"Name": "k8s_POD_calico-node-7pg7v_kube-system_224d2e6b-6504-4dd3-925d-635cfa5ddbfc_0",
"EndpointID": "9f0d534a83f89b1557b4eeff9ace367f9774a4baa9cbe83a4c789aebcd3dfefc",
"MacAddress": "",
"IPv4Address": "",
"IPv6Address": ""
},
"d248e851654718c6fcb78f0ace580bc3003ccb25511563edc180c64b00def526": {
"Name": "kube-proxy",
"EndpointID": "543c11f36ae1c16f94207170906c38f5783501f5361477e70d02aae31c6692c8",
"MacAddress": "",
"IPv4Address": "",
"IPv6Address": ""
}
},
"Options": {},
"Labels": {}
}
]```
# Catalog สร้าง Application ที่พร้อมใช้งานจาก Helm Chart
ใน Rancher นั้นจะมี Catalog ที่ใช้ในการ input parameter ไปยัง Helm Chart ได้รวมไปถึงการดึง Chart จาก Repository ได้อีกด้วยทำให้เราสามารถ Deploy Helm ได้อย่างง่ายดายโดยเฉพาะการ override values.yaml ก็สามารถทำผ่าน GUI ได้เลยเช่นกันเพราะ Rancher Catalog ก็จะไป detect ว่า parameter ที่ใช้ในการ Passing เข้ามานั้นมีอะไรบ้างซึ่งตัวอย่างนี้เราจะลอง Deploy Wordpress จาก Rancher Catalog และเพิ่ม Helm Repository จาก Banzai Cloud ซึ่งเป็นอีก Repository ที่ยอดนิยมในการ Deploy Helm
```
Banzai Chart Repository: https://github.com/banzaicloud/banzai-charts
```
กดที่ปุ่ม Tools ในหน้า Cluster Management และไปเลือกที่ Catalogs
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/1.png)
เมื่ออยู่ที่หน้า Catalog แล้วไปกดที่ปุ่ม Manage Catalog เพื่อทำการเพิ่ม Catalog หรือลบ Catalog ที่มีอยู่ (แต่ตอนนี้เราต้องการจะเพิ่ม Banzai Chart Repository นั่นเอง)
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/1.1.png)
ถ้าเราไปดูที่ link github ของ Banzai Chart ก็จะพบว่ามีการออกแบบ Structure ของตามที่ Helm ได้กำหนดไว้ซึ่งจริงๆจะไป Host ที่ไหนก็ได้เพียงแต่ส่วนมาก Helm Chart คือ Template ที่เป็น Infrastrucutre Application จึงไม่มีความลับอะไรอยู่แล้วจึงมักจะเปิดเป็น Public กันเพื่อให้คนสามารถนำ Infrastructure Application เหล่านั้นไป Deploy ใช้งานได้เลยทันที
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/2.png)
เพิ่ม Catalog แล้วใส่ URL Banzai Chart ลงไป (เลือกใช้ Helm Version 3)
```
Banzai Chart Repository: https://github.com/banzaicloud/banzai-charts
```
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/3.png)
เราก็จะพบกับ Helm Repository ที่ถูกเพิ่มเข้ามาเป็น Catalog พร้อมใช้งานแล้วนั่นเองซึ่งตัว Rancher จะคอย Fetch เป็น Fix Time เอาไว้ว่าช่วงเวลาไหนจะไปเช็คว่ามี Chart Version ใหม่ขึ้นมาก็จะมาแจ้งเตือนบนหน้า GUI ว่า Chart ที่ deploy เป็น Release นั้นมี Version ใหม่ออกมาแล้วสามารถอัพเกรด Version ขึ้นไปได้นะ
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/4.png)
เมื่อเข้ามาหน้า Catalog ก็จะพบกับตัว Chart ที่พร้อมใช้งานโดยเราจะเลื่อนลงไปข้างล่างเพื่อลองใช้ Wordpress ซึ่งเป็นการติดตั้งที่ง่ายที่สุด
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/5.png)
เลือก Wordpress กำหนด Password/ User และ Service ที่จะใช้ Expose ออกไปซึ่งก้สามารถกรอกผ่าน GUI ได้เลย (เบื้องหลังมันก้คือ values.yaml นั่นเอง)
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/wordpress.png)
กรอก paramter credentials ที่เราต้องการตามความเหมาะสมและ Service จะให้ Expose เป็น Node Port แทนเพราะใน Fedora Workstation ยังไม่มี MetalLB จึงขอใช้งาน NodePort ไปก่อนครับ
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/wordpress2.png)
จากนั้นเราจะทดลองเช็คกันดูว่า Wordpress Deploy ได้สำเร็จหรือไม่ผ่านการดูด้วย kubectl get deployment -A เพื่อดู namespace ที่ wordpress ถูก generate ขึ้นมาและไปอยู่ใน namespace นั้น
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/wordpress3.png)
ถ้าหากการ Depploy ไม่ติดปัญหาอะไรเราก็จะสามารถดูได้จาก kubectl และเห็น deployment ที่ถูกสร้างขึ้นมา และเราจะทดลองเข้าไป inspect logs ข้างใน pod กัน
```
kubectl logs -f [ชื่อ pod] -n [namespace ที่เห็นจากคำสั่งก่อนหน้า]
```
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/wordpress4.png)
```
kubectl get svc -n wordpress-p-62pbs # เราจะทำการ เพิ่ม externalIp ของ Kubernetes Node เข้าไปNAME TYPE CLUSTER-IP EXTERNAL-IP PORT(S) AGE
wordpress-p-62pbs NodePort 10.43.138.100 80:30227/TCP,443:30627/TCP 13m
wordpress-p-62pbs-mariadb ClusterIP 10.43.229.144 3306/TCP 13m
```
แก้ไขโดยเพิ่ม section ของ externalIPs ที่เราจะ Listen เข้าไป
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/wordpress5.png)
```
kubectl edit svc -n wordpress-p-62pbs # เพิ่ม externalIPs: เข้าไป```
เพิ่ม IP ของ Node เข้าไปในการ Listen Node Port (จะเป็น IP VM ไหนก็ได้) แล้วจากนั้นนั้นเราจะทดลองเข้าไปยัง IP:Port ของ Service Wordpress ที่เรา Expose กันดู
[alt สรุปเรื่อง Kubernetes Services บน GKE หลังศึกษาและทดลองอย่างเอาจริงเอาจัง](https://www.spicydog.org/blog/my-summary-on-gke-services/)
```
[linxianer12@localhost ~]$ kubectl get svc wordpress-p-62pbs -n wordpress-p-62pbs
NAME TYPE CLUSTER-IP EXTERNAL-IP PORT(S) AGE
wordpress-p-62pbs NodePort 10.43.138.100 10.34.196.181 80:30227/TCP,443:30627/TCP 24m
```
ผลลัพธ์ของ Service ที่ถูกใช้งานผ่าน NodePort
![alt Catalog Deploy Helm](images/catalog/wordpress-final.png)# Authorization & Resource Management สำหรับ Project
หลังจากที่เราเห็นภาพขั้นตอนของการ Deploy Service ใน Rancher ไปบ้างแล้วทีนี้เราลองมาปิดท้ายที่ด้วยการตั้ง Resource Quota ว่าแล้ว Developer ที่มาใช้งานนั้นสามารถเห็น Resource อะไรได้บ้างแล้วสามารถใช้งาน Resource นั้นๆได้หรือเปล่านะ ซึ่งก็จะเป็นการทดสอบการใช้งานแบบ Usecase ง่ายๆให้เห็นว่า Kubernetes Management Platform นั้นสามารถช่วยเรื่องคุณสมบัติของการใช้งานแบบเป็นทีมที่มีหลายๆคนได้นั่นเอง ซึ่งภายใน Rancher นั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า Project เพิ่มขึ้นมาจาก Kubernetes ปกติที่จะมีแค่ Namespace โดย Project นั้นจะประกอบไปด้วยหลายๆ Namespace และเราสามารถย้าย namespace ไปยัง Project อื่นได้ตราบใดที่ Project นั้นยังไม่ถูกเซ็ท Resource Quota เอาไว้### User & Authorization
เราจะเริ่มจากการสร้าง User ใหม่ขึ้นมาก่อนซึ่ง User คนนี้นั้นจะถูกสร้างที่ระดับ Cluster ของหน้า Management และกำหนดสิทธิว่า user คนนี้สามารถใช้งาน Rancher ส่วนใดได้บ้างซึ่งเราจะลองกำหนดสิทธิดังนี้
Cluster Global > Security (ที่มีสัญลักษณ์ dropdown)
![alt Add user to Rancher Cluster](images/resource-quota/add-user-global-login.png)
ใส่ Username Password สำหรับผู้ใช้ที่จะ Login มายัง Console ของ Rancher
![alt Add user to Rancher Cluster](images/resource-quota/add-user-fill-detail-forlogin.png)
เซ็ท Permission คือให้ผู้ใช้คนนี้สามารถดูได้แค่ Metrics ของ Rancher เท่านั้นแต่ทำอะไรอย่างอื่นเพิ่มเติมไม่ได้
เราจะเห็นผลลัพธ์คือมี Global User ขึ้นมารวมทั้งหมด 2 คนซึ่ง username: linxianer12 นั้นจะถูกแสดงใน GUI เป็นชื่อว่า Naomi Lin ตามที่เราเซ็ทเอาไว้
![alt Add user to Rancher Cluster](images/resource-quota/global-user.png)
```
# ทดลองเช็คดู user Naomi Lin ว่ามี ID ตรงจริงๆกับที่สร้างผ่าน GUIหรือไม่
kubectl get user -ANAME AGE
u-4zspk5tvan 6h27m
u-94jh2 164m
u-b4qkhsnliz 6h27m
u-vzbmoiopai 3h34m
u-zkguechov3 6h27m
user-898f4 6h28m
``````
# ทดลองดู Detail ของ object user: Naomi Lin ก็พบว่า mapping เข้ากับ GUI
kubectl get user u-94jh2 -oyamlapiVersion: management.cattle.io/v3
description: ""
displayName: Naomi Lin
enabled: true
kind: User
metadata:
annotations:
field.cattle.io/creatorId: user-898f4
lifecycle.cattle.io/create.mgmt-auth-users-controller: "true"
creationTimestamp: "2020-12-28T10:12:23Z"
finalizers:
- controller.cattle.io/mgmt-auth-users-controller
generateName: u-
generation: 3
labels:
cattle.io/creator: norman
name: u-94jh2
resourceVersion: "77724"
selfLink: /apis/management.cattle.io/v3/users/u-94jh2
uid: d1a7e6df-1cba-4b67-8f0f-3bc6fdfcf929
password: $2a$10$zqgV2tT44S7b30S9G2kKxOAw6kjoqG3/C1Jkmdzn8lbMGhiqMwr9e
principalIds:
- local://u-94jh2
spec: {}
status:
conditions:
- lastUpdateTime: "2020-12-28T10:12:23Z"
status: "True"
type: InitialRolesPopulated
username: linxianer12
```เพิ่ม User ให้ไปอยู่ใน Cluster Local ของเราเพราะเมื่อตอนที่เราสร้าง User นั้นจะเป็น User Global ที่ลอยๆขึ้นมาแต่ถ้าอยากจะให้ใช้ได้กับ Cluster ไหนเราก็จำเป็นต้องนำ User คนนั้นแอดเข้าไปใน Cluster อีกทีนึง
##### **GUI นั้นมีความคล้ายกันอย่างมากแต่ดูดีๆจะพบว่า เรากำลังอยู่ที่ Cluster Local ไม่ได้อยู่ที่ Global !!! **
![alt Add user to Rancher Cluster](images/resource-quota/add-user-cluster-login.png)
กดเพิ่ม Add Member เข้าไปในระบบและค้นหาชื่อ member ผ่าน username ที่เราเพิ่มไปคือ linxianer12 แต่จะถูก Display Name ออกมาเป็น Naomi Lin และเราจะลองกำหนดสิทธิ์ให้สามารถ View Project, Cluster Catalogs, View Node ได้ (แต่ตอนแรกเราทำการปิดสิทธิระดับ globoal ไปแล้วจากตอนตั้ง global user permission คือมองไม่เห็น Catalog ให้ View ได้แค่ Metrics)
![alt Add user to Rancher Cluster](images/resource-quota/set-user-cluster-permission.png)
ถ้าเราทำการ Create User เสร็จแล้วเราจะเห็น User ใน Cluster Local ดั่งภาพนี้ (เพราะมองเป็น role แยกกันเลยเห็น user ซ้ำกันสามคน)
![alt Add user to Rancher Cluster](images/resource-quota/cluster-role-permission.png)
ถ้าเรามาจนถึงขั้นตอนนี้ได้เราจะมา list กันอีกทีว่า user ของเรานั้นมีสิทธิ์อะไรบ้าง
```
User: linxianer12 DisplayName: Naomi LinGlobal Cluster User:
1. View Metrics ได้อย่างเดียวCluster Local ของเราเอง:
1. View All Project
2. View All Catalogs
3. View All Nodes
```### Resource Limit และ RBAC ของ User
ส่วนต่อมาเราจะเพิ่ม User ลงไปใน Project พร้อมกำหนดตาม format RBAC ของ kbuernetes ว่า user คนนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง [Kubernetes RBAC Authorization](https://kubernetes.io/docs/reference/access-authn-authz/rbac/) เช่น get/ delete/ edit => pod โดยเราจะเริ่มจากการไปที่ Cluster Local เพื่อดู Project ทั้งหมดดั่งภาพด้วยการกดที่ Project/Namespace (ระดับ Cluser Local นะ)
![alt Setting Project](images/resource-quota/set-quota/2.edit%20project%20to%20se%20resource%20and%20user%20who%20have%20access.png)
ให้เรามาดูที่ Section Project Default แล้วกดที่มุมบนขวาของ Elipse Icon (จุดสามจุดแนวตั้ง) แล้วกดไปที่ Edit เพื่อทำการกำหนด Resource ของ Project ซึ่งจะส่งผลไปกับ Namespace ที่อยู่ภายใน Project ด้วยเช่น CPU ที่ใช้ได้ของ Project ทั้งหมดของ Project คือเท่าไหร่แล้ว Namespace หนึ่ง Limit CPU ไว้ที่เท่าไหร่ (กำหนด Limit ได้หลายอย่างนอกจากแค่ CPU, POD, Momory ก็ได้)
![alt Setting Project](images/resource-quota/set-quota/3.linxianer12-to-project-rancher.png)
เราจะเริ่มจากการ Add Member ที่ Proejct ลงไปก่อนโดยการทำการใส่ username ลงไปและเรื่องของ Role เราจะมาทำการ custom แบบ Fined Grain เสมือนเรากำลัง config ผ่าน Role แล้วไปผูกกับ RoleBinding กับ Namespace นั้น
![alt Setting Project](images/resource-quota/set-quota/4.linxianer12-customer-permission.png)
เราจะเลือกให้ User นั้นสามารถ View Catalog ที่ถูก Deploy ไปแล้วได้, เห็น Service Kubernetes, เห็น Metrics และ Workload (Deployment) ที่มีอยู่แต่จะไม่สามารถไปเห็นส่วนอื่นหรือแก้ไขอะไรที่ไม่ได้รับอนุญาตตามนี้ได้
![alt Setting Project](images/resource-quota/set-quota/5.set-pod-limit.png)
เราจะกำหนด Resource Quota ไว้ให้ Namespace หนึ่งมี Pod ได้ไม่เกิน 5 และรวมกันทุกๆ Namespace ได้ไม่เกิน 10 (Project คือการรวมกันของทุกๆ Namespace)จนมาถึงตอนนี้เราจะมาดูกันว่าแล้ว Object User นั้นไปทำเรื่องของการ Authentication ได้อย่างไรซึ่งเราจะเรียกใช้ api-resources ของ Kubernetes ในการเช็คดู Custom Resource Defination ของ Rancher
```
[linxianer12@localhost certified-rancher-operator]$ kubectl api-resources | grep cattle
apps catalog.cattle.io true App
clusterrepos catalog.cattle.io false ClusterRepo
operations catalog.cattle.io true Operation
bundledeployments fleet.cattle.io true BundleDeployment
bundlenamespacemappings fleet.cattle.io true BundleNamespaceMapping
bundles fleet.cattle.io true Bundle
clustergroups fleet.cattle.io true ClusterGroup
clusterregistrations fleet.cattle.io true ClusterRegistration
clusterregistrationtokens fleet.cattle.io true ClusterRegistrationToken
clusters fleet.cattle.io true Cluster
contents fleet.cattle.io false Content
gitreporestrictions fleet.cattle.io true GitRepoRestriction
gitrepos fleet.cattle.io true GitRepo
gitjobs gitjob.cattle.io true GitJob
authconfigs management.cattle.io false AuthConfig
catalogs management.cattle.io false Catalog
catalogtemplates management.cattle.io true CatalogTemplate
catalogtemplateversions management.cattle.io true CatalogTemplateVersion
cisbenchmarkversions management.cattle.io true CisBenchmarkVersion
cisconfigs management.cattle.io true CisConfig
clusteralertgroups management.cattle.io true ClusterAlertGroup
clusteralertrules management.cattle.io true ClusterAlertRule
clusteralerts management.cattle.io true ClusterAlert
clustercatalogs management.cattle.io true ClusterCatalog
clusterloggings management.cattle.io true ClusterLogging
clustermonitorgraphs management.cattle.io true ClusterMonitorGraph
clusterregistrationtokens management.cattle.io true ClusterRegistrationToken
clusterroletemplatebindings management.cattle.io true ClusterRoleTemplateBinding
clusters management.cattle.io false Cluster
clusterscans management.cattle.io true ClusterScan
clustertemplaterevisions management.cattle.io true ClusterTemplateRevision
clustertemplates management.cattle.io true ClusterTemplate
composeconfigs management.cattle.io false ComposeConfig
dynamicschemas management.cattle.io false DynamicSchema
etcdbackups management.cattle.io true EtcdBackup
features management.cattle.io false Feature
fleetworkspaces management.cattle.io false FleetWorkspace
globaldnses management.cattle.io true GlobalDns
globaldnsproviders management.cattle.io true GlobalDnsProvider
globalrolebindings management.cattle.io false GlobalRoleBinding
globalroles management.cattle.io false GlobalRole
groupmembers management.cattle.io false GroupMember
groups management.cattle.io false Group
kontainerdrivers management.cattle.io false KontainerDriver
monitormetrics management.cattle.io true MonitorMetric
multiclusterapprevisions management.cattle.io true MultiClusterAppRevision
multiclusterapps management.cattle.io true MultiClusterApp
nodedrivers management.cattle.io false NodeDriver
nodepools management.cattle.io true NodePool
nodes management.cattle.io true Node
nodetemplates management.cattle.io true NodeTemplate
notifiers management.cattle.io true Notifier
podsecuritypolicytemplateprojectbindings management.cattle.io true PodSecurityPolicyTemplateProjectBinding
podsecuritypolicytemplates management.cattle.io false PodSecurityPolicyTemplate
preferences management.cattle.io true Preference
projectalertgroups management.cattle.io true ProjectAlertGroup
projectalertrules management.cattle.io true ProjectAlertRule
projectalerts management.cattle.io true ProjectAlert
projectcatalogs management.cattle.io true ProjectCatalog
projectloggings management.cattle.io true ProjectLogging
projectmonitorgraphs management.cattle.io true ProjectMonitorGraph
projectnetworkpolicies management.cattle.io true ProjectNetworkPolicy
projectroletemplatebindings management.cattle.io true ProjectRoleTemplateBinding
projects management.cattle.io true Project
rkeaddons management.cattle.io true RkeAddon
rkek8sserviceoptions management.cattle.io true RkeK8sServiceOption
rkek8ssystemimages management.cattle.io true RkeK8sSystemImage
roletemplates management.cattle.io false RoleTemplate
samltokens management.cattle.io true SamlToken
settings management.cattle.io false Setting
templatecontents management.cattle.io false TemplateContent
templates management.cattle.io false Template
templateversions management.cattle.io false TemplateVersion
tokens management.cattle.io false Token
userattributes management.cattle.io false UserAttribute
users management.cattle.io false User
apprevisions project.cattle.io true AppRevision
apps project.cattle.io true App
pipelineexecutions project.cattle.io true PipelineExecution
pipelines project.cattle.io true Pipeline
pipelinesettings project.cattle.io true PipelineSetting
sourcecodecredentials project.cattle.io true SourceCodeCredential
sourcecodeproviderconfigs project.cattle.io true SourceCodeProviderConfig
sourcecoderepositories project.cattle.io true SourceCodeRepository
clusters rancher.cattle.io true Cluster
projects rancher.cattle.io true Project
roletemplatebindings rancher.cattle.io true RoleTemplateBinding
roletemplates rancher.cattle.io false RoleTemplate```
จาก List ข้างบนนั้นจะแสดง CRDs ของ Rancher ทั้งหมดซึ่งเราสังเกตดูว่าหลักการผูก User ของ Kubernetes นั้นมี Pattern คือการสร้าง Role แล้วข้างในนั้นมี Verb กับ Resource ที่โดนเรียกอยู่เราก็จะสามารถเข้าไปแกะดูข้อมูลข้างใน Rancher ได้ไม่ยากนัก
ซึ่ง projecttempaltebindings ก็จะเป็นตัวใช้ผูก projecttemplate ที่ถูกสร้างไว้ก่อนแล้วเข้าด้วยกัน
```
[linxianer12@localhost certified-rancher-operator]$ kubectl get projectroletemplatebindings -A
NAMESPACE NAME AGE
p-62pbs creator-project-owner 6h39m
p-62pbs prtb-dnllz 159m
p-62pbs prtb-kjnrc 159m
p-62pbs prtb-l7fps 159m
p-62pbs prtb-wp7lq 159m
p-62pbs u-4zspk5tvan-member 6h39m
p-62pbs wordpress-project-member 3h45m
p-vwr2n creator-project-owner 6h39m
p-vwr2n u-zkguechov3-member 6h39m```
และถ้าสังเกตดูเราจะเห็น namespace p-62pbs อีกด้วยซึ่งถ้าเราลองไปดู REST API ของ Rancher เราจะเห็นค่าดั่งนี้ local:p-62pbs ซึ่งเป็น namespaces ของ Project นั่นเอง User ที่เกิดขึ้นจึงอยู่ในนี้ด้วยเช่นกัน (REST API สามารถดูได้ด้วยการกดที่ปุ่มที่ Project > View in API)
![alt Rancher Proejct REST API](images/resource-quota/set-quota/6.project-id.png)หลังจากเรารู้แล้วว่ามี user: Naomi Lin ที่อยู่ใน
1. Namespace : p-62pbs
2. User ID: u-94jh2เราจะทำการเข้าไปใช้ Json Template ในการดึง Role ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ user ของเรา แต่ก่อนอื่นเราจะลองมาดูหน้าตา Format ของ projectroletempaltebindings ที่ใช้ผูก RBAC ของ User ก่อนจากการทดลองไปเรียกสัก rolebinding นึง
```
kubectl get projectroletemplatebindings prtb-dnllz -oyaml -n p-62pbsapiVersion: management.cattle.io/v3
kind: ProjectRoleTemplateBinding
metadata:
annotations:
field.cattle.io/creatorId: user-898f4
lifecycle.cattle.io/create.cluster-prtb-sync_local: "true"
lifecycle.cattle.io/create.mgmt-auth-prtb-controller: "true"
creationTimestamp: "2020-12-28T10:29:17Z"
finalizers:
- controller.cattle.io/mgmt-auth-prtb-controller
- clusterscoped.controller.cattle.io/cluster-prtb-sync_local
generateName: prtb-
generation: 3
labels:
auth.management.cattle.io/crb-rb-labels-updated: "true"
authz.cluster.cattle.io/crb-rb-labels-updated: "true"
cattle.io/creator: norman
name: prtb-dnllz
namespace: p-62pbs
resourceVersion: "83389"
selfLink: /apis/management.cattle.io/v3/namespaces/p-62pbs/projectroletemplatebindings/prtb-dnllz
uid: dfe908bc-e837-4996-b65e-9f25a9ea442c
projectName: local:p-62pbs
roleTemplateName: services-view
userName: u-94jh2
userPrincipalName: local://u-94jh2
```
##### สร้าง Condition แสดง Role ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้
จะเห็นว่าเราต้องการจะ Filter แสดงเฉพาะผลลัพธ์ของ userName: u-94jh2 (Naomi Lin) เราก็จะใช้ kubectl jsonpath แล้วตั้ง Condition ว่าถ้า userName == "u-94jh2" จะให้แสดง roleTemplateName ของผู้ใช้คนนั้นออกมา
โดน Syntax เป็นการใช้ .items[?(@.CONDITION_FIELDS=="")].DISPLAY_FIELD
โดยเงื่อนไขของเราคือ [อ้างอิง JSON Path Kubectl](https://kubernetes.io/docs/reference/kubectl/jsonpath/)
```
?(@.userName=="u-94jh2") จะหมายถึง YAML จะต้องมีค่า userName: u-94jh2.roleTemplateName จะหมายถึง values ของ KEY ชื่อนี้ใน YAML ที่จะมาแสดงผล
```ผลลัพธ์จะมี 4 Roles ตรงกับที่ Customs เป๊ะๆในตอนที่ Add User เข้าไปใน Project
```
kubectl get projectroletemplatebindings -ojsonpath='{.items[?(@.userName=="u-94jh2")].roleTemplateName}' -A ;echo# ผลลัพธ์ของ Role ทั้งหมดใน user: u-94jh2 (Naomi Lin)
services-view workloads-view projectroletemplatebindings-view projectcatalogs-view
```
ซึ่งหลังจากที่ลองไปดู Code เบื้องหลังของ Rancher มาก็เข้าใจว่า Rancher ใช้ตัวแปรเหล่าน้ในการกำหนดสิทธิต่างๆนี่แหละเป็น Static Value ไป
![Authentication Static Value](images/resource-quota/set-quota/7.authen-code.png)[Soure Code Authentication บน Manager ใน Rancher บน Github](https://github.com/rancher/rancher/blob/master/pkg/controllers/management/auth/manager.go)
![Authentication Static Value](images/resource-quota/set-quota/8.sourcecode-role.png)
[Soure Code Role ใน Rancher บน Github](https://github.com/rancher/rancher/blob/0257d0faee6ac32d087b7dae76834c016426cb50/pkg/data/management/role_data.go)##### ทดสอบ User ที่สร้างขึ้นมาใหม่
เราจะลอง Login ด้วย userid ที่เราสร้างขึ้นมาใหม่และลองดูว่า User นี้จะสามารถลบ Catalog หรือสร้าง Catalog ได้มั้ย ? (เพราะเราไม่ให้สิทธิเห็น Catalog Global)
โดยเราจะเริ่มจากการมาดูที่ Catalog ที่เคย Deploy ไปแล้วใน Cluster Local เราจะพบว่าเราสามารถเห็นได้ปกติ (นั่นก็เพราะมันกลายเป็น Workload Deployment ไปแล้วนั่นเอง)
![see-existing-deploy-app-catalog](images/resource-quota/proof-authorize/1.see-existing-deploy-app-catalog.png)
แต่ถ้าเราลองมากดปุ่ม Options เพื่ออยากจะลบ Catalog ดูก็จะพบว่าไม่สามารถลบได้เหมือน User Admin เพราะเราไม่มีสิทธิในการลบนั่นเอง
![cant-delete-catalog](images/resource-quota/proof-authorize/2.cant-delete-catalog.png)
แล้วถ้าลองมาสร้าง Catalog ใหม่ก็จะไม่เห็นเช่นเดียวกันเพราะเราไม่ได้ให้สิทธิไว้
![not-found-catalog](images/resource-quota/proof-authorize/3.not-found-catalog.png)
จากนั้นเราจะลองมาที่ Workload และทำการลองลบ Frontend-Dino ของเรากันดูก็จะพบว่าไม่สามารถลบได้กันเพราะว่าไม่มีสิทธินั่นเอง
![workload-try-authz](images/resource-quota/proof-authorize/4.workload-try-authz.png)
ซึ่งให้เราไปขอ Access Token จากที่มุมบนขวาของเราโปรไฟล์แล้วกดขอ Access Key มาซึ่ง token นี้ถ้าหายแล้วก็จะหายเลยต้องขอใหม่อย่างเดียวแล้วเวลาที่เราทำการขอ Authentication Rancher ก็จะทำการ Generate kubeconfig ไฟล์ให้เราใหม่นั่นเองสำหรับ User ใหม่ที่ไม่ได้เป็น Admin
แต่ก่อนอื่นเราก็จะต้องโหลด Binary commandline ของ Rancher มาด้วยซึ่ง Rancher Commandline นั้นให้เรียกว่าเป็นส่วนต่อยอดของ kubectl เพราะว่าทุกอย่างนั้นเหมือนเดิมทุกประการแต่เพิ่มความสามารถของ Rancher เข้าไปเช่นการดู Project ซึ่งไม่มีคอนเซปนี้ใน Kubernetes (มันก็เลยไม่มีใน kubectl ด้วย)![Rancher Bianry](images/resource-quota/proof-authorize/6.rancher-binary.png)
หลังจากติดตั้ง Binary rancher ไว้ในที่สามารถ Execute ได้แล้วเราก็จะใช้คำสั่ง rancher login และระบุ endpoint ไปยัง Rancher Server ของเราพร้อมนำ token ที่ได้มาแปะไปด้วย
```
Do you want to continue connecting (yes/no)? yes
INFO[0002] Saving config to /home/linxianer12/.rancher/cli2.json[linxianer12@localhost ~]$ rancher login https://rancher.cloudnative --token token-28jqm:fbh2b6cx75625hnr95rnsdbzl7xsjrtrxcs5hpb9nz5ftrn4tqgrbl^C
[linxianer12@localhost ~]$ cat /home/linxianer12/.rancher/cli2.json | jq
{
"Servers": {
"rancherDefault": {
"accessKey": "token-28jqm",
"secretKey": "fbh2b6cx75625hnr95rnsdbzl7xsjrtrxcs5hpb9nz5ftrn4tqgrbl",
"tokenKey": "token-28jqm:fbh2b6cx75625hnr95rnsdbzl7xsjrtrxcs5hpb9nz5ftrn4tqgrbl",
"url": "https://rancher.cloudnative",
"project": "local:p-62pbs",
"cacert": "-----BEGIN CERTIFICATE-----\nMIIBhzCCAS6gAwIBAgIBADAKBggqhkjOPQQDAjA7MRwwGgYDVQQKExNkeW5hbWlj\nbGlzdGVuZXItb3JnMRswGQYDVQQDExJkeW5hbWljbGlzdGVuZXItY2EwHhcNMjAx\nMjjOPQMBBwNCAASwvgg9Ffoe+5CpuJqdPHer7KAdMZdHtNFpG1QOAFQU\nV1OdAsw+iBG2BOc/2Z7Nbnvx17I66PwCDTgfKA5Mt7IuoyMwITAOBgNVHQ8BAf8E\nBAMCAqQwDwYDVR0TAQH/BAUwAwEB/zAKBggqhkjOPQQDAgNHADBEAiAT/q4EcXFz\n2zNnX17rO6wA5bVr/+61NZYvOW349hjvQQIgJtcelVhmZKyVbz06aQaZFjqpz99z\nUkGgrfBQqCbcjGw=\n-----END CERTIFICATE-----"
}
},
"CurrentServer": "rancherDefault"
}
```
เพียงเท่านี้เราก็สามารถเรียกใช้คำสั่ง kubectl ผ่าน commandline ได้แล้วนั่นเองโดยเติมคำนำหน้าว่า rancher ทุกครั้ง
เราจะมาทำการทดสอบคำสั่งต่างๆกันเพื่อเช็คว่า user ใหม่เรานั้นทำอะไรได้บ้าง```
[linxianer12@localhost certified-rancher-operator]$ rancher kubectl get pod
NAME READY STATUS RESTARTS AGE
frontend-dino-bc7b7485c-lgf2s 1/1 Running 1 8h
[linxianer12@localhost certified-rancher-operator]$ rancher kubectl get svc
NAME TYPE CLUSTER-IP EXTERNAL-IP PORT(S) AGE
frontend-dino-service NodePort 10.43.14.25 10.34.196.215 3000:31944/TCP 8h
kubernetes ClusterIP 10.43.0.1 443/TCP 9h
[linxianer12@localhost certified-rancher-operator]$ rancher kubectl auth can-i delete pod
no
exit status 1
[linxianer12@localhost certified-rancher-operator]$ rancher kubectl auth can-i delete deployment
no
exit status 1```
ทดลองใช้คำสั่งที่เปน Feature ของ Rancher เช่นการดู Projects
```
[linxianer12@localhost certified-rancher-operator]$ rancher projects
ID NAME STATE DESCRIPTION
local:p-62pbs Default active Default project created for the cluster
local:p-vwr2n System active System project created for the cluster```
##### ทดลองสร้าง Pod เกินกว่าที่เราตั้งค่า Quota ของ Project
จะพบว่า Kube-scheduler จะหยุดการสร้าง Pod เพิ่มถ้าหากผิดเงื่อนไขของ Resource Quota ที่ Project ตั้งเอาไว้ (กลับมาทดลองด้วย user admin นะ)
![Pod Exceed with be reject](images/resource-quota/proof-authorize/7.limit-pod.png)### Demo KubeOps Skill Deploy Todoapp
สร้าง Database จาก Catalog ผ่าน Rancher โดยใช้ mariadb และตั้งค่า username password ตามที่ใช้งาน โดยเราจะใช้ Quarkus ต่อกับ MariaDB เป็นตัวอย่างและมี Frontend เป็น Vue.js
ซึ่ง Service ต้องไป Select Pod จาก label ที่ตรงกันโดย Frontend นั้นจะเป้น Static Website ซึ่ง fix ค่าชี้ไปหา Backend API quarkus-todoapp-backend:7070 เสมอ จึงไม่สามารถ Config ได้ (เพราะ build static asset มาแล้วและไม่ได้ทำ reverse proxy ที่ nginx เป็น frontend แบบ fix ค่ามาเลย)
แต่ Backend สามารถ config parameter Runtime ได้ตามดั่ง Command กับใน source code application.properties![Todoapp](images/todoapp/1.app-non.png)
ถ้ามีข้อมูลจะแสดง List todo แทน (ถ้าสร้าง todo แล้วต้อง refresh หน้าเพราะว่าไม่ได้ implement fetch ใหม่หลังจากที่ insert ข้อมูลลง DB)
![Todoapp](images/todoapp/2.app-value.png)
Backend จะดึงข้อมูลจาก MariaDB
![Todoapp](images/todoapp/3.app-backend.png)
Backend จะดึงข้อมูลจาก MariaDB
![Todoapp](images/todoapp/4.database.png)
ใส่ข้อมูล username/ namespace ให้ถูกต้องดั่งภาพ (สามารถปรับแต่งได้แต่ก็อย่าลืมปรับ env ที่สร้างจาก configmap/secret ด้วยนะคับผม ปล.จริงๆแล้ว password ที่เซ้ทเป็น secret ก็เก็บอยู่ใน base64 ไม่ได้ปลอดภัยแต่อย่างใด )
![Todoapp](images/todoapp/4.database.png)##### **สำหรับ Openshift จะใช้ Image
ซึ่งเป็น Image ที่ผ่านการทำ Security ไว้แล้วไม่ให้ Process Container ทำงานด้วย Root ดังนั้นจะต้องอนุญาต Privileges สำหรับ Process Nginx ให้อยู่ใน Group Root เพื่อที่ User ใน Group Root จะ Execute ไฟล์รัน Process ได้เฉพาะที่กำหนดนั่นเอง
```
quay.io/linxianer12/vue-todoapp-frontend:1.1.0 # Openshift Image พร้อมกับจำกัด Privileges Nginx
quay.io/linxianer12/vue-todoapp-frontend:1.0.0 # Container Image ปกติสำหรับ Kubernetes ที่รัน Container ด้วย Root
``````
# สร้าง configmap ชี้ไปยัง database todoapp
kubectl create secret generic backend-secret --from-literal="DATABASE_URL=mariadb" --from-literal="DATABASE_USERNAME=linxianer12" --from-literal="DATABASE_PASSWORD=cyberpunk2077"kubectl create deployment --image quay.io/linxianer12/quarkus-todoapp-backend:1.0.0 quarkus-todoapp-backend
kubectl set env deployment quarkus-todoapp-backend --from=secret/backend-secret
kubectl expose deployment quarkus-todoapp-backend --type=NodePort --port=7070 --target-port=7070 --external-ip=192.168.122.215
kubectl create deployment --image quay.io/linxianer12/vue-todoapp-frontend:1.0.0 vue-todoapp-frontend
kubectl expose deployment vue-todoapp-frontend --type=NodePort --port=80 --target-port=80 --external-ip=192.168.122.215
```
###### ผลลัพธ์การทดสอบ
Backend Quarkus
```
[linxianer12@localhost Certified-Rancher-Operator-Thai]$ oc logs -f quarkus-todoapp-backend-5894bf7c46-rmmh7
exec java -Dquarkus.http.host=0.0.0.0 -Djava.util.logging.manager=org.jboss.logmanager.LogManager -XX:+ExitOnOutOfMemoryError -cp . -jar /deployments/quarkus-run.jar
__ ____ __ _____ ___ __ ____ ______
--/ __ \/ / / / _ | / _ \/ //_/ / / / __/
-/ /_/ / /_/ / __ |/ , _/ ,< / /_/ /\ \
--\___\_\____/_/ |_/_/|_/_/|_|\____/___/
2021-01-23 16:16:34,214 INFO [io.quarkus] (main) todoapp-backend 1.0.0-SNAPSHOT on JVM (powered by Quarkus 1.11.0.Final) started in 2.398s. Listening on: http://0.0.0.0:7070
2021-01-23 16:16:34,216 INFO [io.quarkus] (main) Profile prod activated.
2021-01-23 16:16:34,217 INFO [io.quarkus] (main) Installed features: [agroal, cdi, hibernate-orm, hibernate-orm-panache, jdbc-mariadb, mutiny, narayana-jta, resteasy, resteasy-jackson, smallrye-context-propagation, spring-data-jpa, spring-di][linxianer12@localhost Certified-Rancher-Operator-Thai]$ oc exec -it quarkus-todoapp-backend-5894bf7c46-rmmh7 bash
kubectl exec [POD] [COMMAND] is DEPRECATED and will be removed in a future version. Use kubectl exec [POD] -- [COMMAND] instead.
bash-4.4$ env | grep DATABASE
DATABASE_URL=mariadb
DATABASE_USERNAME=linxianer12
DATABASE_PASSWORD=cyberpunk2077
bash-4.4$ curl localhost:7070
todoapp-backend - 1.0.0-SNAPSHOT
h1, h2, h3, h4, h5, h6 {
margin-bottom: 0.5rem;
font-weight: 400;
line-height: 1.5;
}h1 {
font-size: 2.5rem;
}
```Database MariaDB
```
mariadb@mariadb-0:/$ mysql -u linxianer12 -p
Enter password:
Welcome to the MariaDB monitor. Commands end with ; or \g.
Your MariaDB connection id is 454
Server version: 10.3.22-MariaDB Source distributionCopyright (c) 2000, 2018, Oracle, MariaDB Corporation Ab and others.
Type 'help;' or '\h' for help. Type '\c' to clear the current input statement.
MariaDB [(none)]> show databases;
+--------------------+
| Database |
+--------------------+
| information_schema |
| test |
| todoapp |
+--------------------+
3 rows in set (0.000 sec)MariaDB [(none)]> use todoapp;
Reading table information for completion of table and column names
You can turn off this feature to get a quicker startup with -ADatabase changed
MariaDB [todoapp]> show tables;
+--------------------+
| Tables_in_todoapp |
+--------------------+
| Todo |
| hibernate_sequence |
+--------------------+
2 rows in set (0.002 sec)MariaDB [todoapp]> select * from Todo;
+----+-------------------------------------------------------------------------------------------------------------+-------------+
| id | todoDetail | todoType |
+----+-------------------------------------------------------------------------------------------------------------+-------------+
| 1 | Hello Quarkus | review |
| 2 | Checking spelling or copy template because free typing can cuase bugged.
Sorry for have problem in demo TwT | improvement |
+----+-------------------------------------------------------------------------------------------------------------+-------------+
2 rows in set (0.002 sec)```
ผลลัพธ์ของ service
```
[linxianer12@localhost Certified-Rancher-Operator-Thai]$ oc get svc
NAME TYPE CLUSTER-IP EXTERNAL-IP PORT(S) AGE
kubernetes ClusterIP 10.43.0.1 <none> 443/TCP 10h
mariadb ClusterIP 10.43.105.151 <none> 3306/TCP 7h43m
quarkus-todoapp-backend NodePort 10.43.212.83 192.168.122.215 7070:30021/TCP 5h9m
vue-todoapp-frontend NodePort 10.43.4.60 192.168.122.215 80:32050/TCP 4h6m```
# ปิดท้าย
สำหรับ Guide Line การใช้งาน Rancher และ Kubernetes ก็จบลงเท่านี้ถ้าหากเพื่อนๆคนไหนที่กำลังจะไปสอบ Certified Kubernetes Administrator มีข้อสงสัยก็สามารถมาสอบถามกันได้นะ
แนะนำให้ลองทำ Kubernetes Hardway สักสองสามครั้งหรือจนกว่าจะเข้าส่วนประกอบใน Kuberntes เรื่อง Command นั้นอาจจะต้องจำบ้างก็จริงแต่ที่สำคัญคือการเขาใจ ทฤษฎีใน Kubernetes ซึ่งจะสามารถไปประยกต์ใช้กับการออกแบบโปรแกรมที่เราเขียนได้ด้วย
ว่าควรออกแบบอย่างไรให้สามารถกระจายออกจากกันเป็น Module และสเกลกันได้ดี
ตัวผมเองก็พึ่งผ่าน Certified Kubernetes Adminsitrator มาได้และรู้สึกว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจไว้จะมาแบ่งปันกันใหม่ครั้งหน้านะครับผม### รวมบทความ
0. [API Management คืออะไรกันและเราสามารถทำอะไรได้บ้างนะ](https://wdrdres3qew5ts21.medium.com/d88d12235d3e)
![](images/article/api-management.png)1. [ทำความเข้าใจ TLS Certificate บน Kubernetes และ Service Mesh Gateway ผ่าน Cert-Manager แบบ DNS Challenge](https://wdrdres3qew5ts21.medium.com/dc1c70cf6634)
![](images/article/istio-tls-automation-dns-challenge.png)2. [Handbook เจาะลึก architecture service mesh ใน cloud native พร้อมวิธีทำtraffic shifting ฉบับปี-2020](https://wdrdres3qew5ts21.medium.com/dc1c70cf6634)
![](images/article/servicemesh-cloudnative-stack.png)3. [Hybrid cloud บน Openshift ด้วย skupper และแนวคิดของ virtual application network](https://wdrdres3qew5ts21.medium.com/dc1c70cf6634)
[api-management-คืออะไรกันและเราสามารถทำอะไรได้บ้างนะ](https://wdrdres3qew5ts21.medium.com/dc1c70cf6634)
![](images/article/hybrid-cloud-openshift.png)4. [Handbook วิธีใช้งาน Jenkins syntax pipeline พร้อมการทำ continuous-delivery-ไปยัง-kubernetes](https://wdrdres3qew5ts21.medium.com/dc1c70cf6634)
![](images/article/jenkins-cicd.png)
5. [ทุกคนคือ DevOps เพราะ Culture & Mindsets คือพวกเรา!](https://wdrdres3qew5ts21.medium.com/8d7d4e0407ef)
![](images/article/devops.png)##### ขอบคุณผู้สนับสนุนสิ่งดีๆ
สุดท้ายนี้ซึ่งต้องขอบคุณ “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)” และอาจารย์ “คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. (SIT)” ที่ให้การสนับสนุน “ทุนเพชรพระจอมเกล้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (KMUTT-depa)”และพี่ๆในบริษัททุกคนที่ช่วยกันสนับสนุนให้ได้ทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆสนุกนะคับผม 🥰🥰🥰